หากว่าคุณกำลังมีแผนจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดกับธนาคาร มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ต้องรู้ และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้การขอสินเชื่อผ่าน
ในการขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อคอนโด สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนนั่นคือ การเตรียมความพร้อมให้ดี ตั้งแต่การหาข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ การจัดการเครดิตการเงิน ไปจนถึงการเตรียมเอกสารให้ครบ เพื่อให้การขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
หากว่าคุณกำลังมีแผนจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดกับธนาคาร มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ต้องรู้ และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อให้การขอสินเชื่อผ่านฉลุย
5 สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนขอสินเชื่อสำหรับซื้อคอนโด
1. หาข้อมูลสินเชื่อคอนโดกับธนาคารที่ตอบโจทย์
แต่ละธนาคารจะมีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย พร้อมโปรโมชันมากมาย ซึ่งในการคัดเลือกเลือกสินเชื่อสำหรับซื้อคอนโดให้เหมาะสมกับคุณ สามารถพิจารณาได้จาก
- โครงการสินเชื่อที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ โดยให้ดูที่วัตถุประสงค์ในการยื่นกู้ของแต่ละโครงการสินเชื่อ ว่าสามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดได้หรือไม่ และดูที่คุณสมบัติตามที่ทางธนาคารกำหนด ว่าคุณเข้าเงื่อนไขที่สามารถยื่นขอสินเชื่อในโครงการนั้นหรือไม่
- วงเงินสินเชื่อจากราคาประเมิน โดยเลือกดูว่าโครงการของแต่ละธนาคาร จะให้วงเงินกู้สูงสุดที่กี่ % ของราคาประเมิน และให้วงเงินอนุมัติที่ประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้คุณเตรียมตัวและวางแผนสำหรับการหาเงินในส่วนที่เหลือในการซื้อคอนโด
- ระยะเวลาในการผ่อน โดยดูว่าแต่ละโครงการที่คุณเข้าเงื่อนไข มีระยะเวลาในการผ่อนสูงสุดที่กี่ปี เพราะยิ่งระยะเวลาในการผ่อนที่มากขึ้น จะทำให้เงินที่ต้องผ่อนในแต่ละงวดไม่สูงจนเกินไป และช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น
โดยหลังจากที่คุณหาข้อมูลได้ครอบคลุมแล้ว ก็สามารถจัดทำเป็น ตารางเปรียบเทียบวงเงินสินเชื่อ เพื่อเป็นการสรุปภาพรวมทั้งหมด และช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกสินเชื่อกับธนาคารได้อย่างตอบโจทย์
2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย เป็นหนึ่งส่วนสำคัญที่ต้องใช้ในการนำมาพิจารณาเลือกสินเชื่อคอนโดกับทางธนาคาร ซึ่งหากคุณเลือกกู้ซื้อคอนโดดอกเบี้ยต่ำ ก็จะช่วยให้การผ่อนชำระสินเชื่อหมดได้ไวขึ้น และยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาวอีกด้วย
สำหรับวิธีคิดอัตราดอกเบี้ย ธนาคารจะใช้การคำนวณ คือ
อัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวด = ยอดเงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่อปี (%) x จำนวนวันใน 1 เดือน (30 หรือ 31) / จำนวนวันใน 1 ปี (365 หรือ 366)
โดยอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อคอนโด จะมีอยู่ 2 ประเภท เช่นเดียวกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแบบอื่นๆ นั่นคือ
- อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate) เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยในแบบคงที่ตลอดอายุสัญญาหรือในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งในอนาคตหากว่ามีการปรับตัวขึ้นลงของตลาดการเงิน คุณก็ยังจ่ายดอกเบี้ยเท่าเดิม
- อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) เป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยตามต้นทุนหรือผลประกอบการของธนาคาร ซึ่งอาจะช่วยให้ผู้กู้ได้ประโยชน์จากการปรับลดดอกเบี้ยได้ในบางช่วง
ซึ่งผู้กู้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่แตกต่างกันตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยอ้างอิงมาจาก
- MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา โดยเป็นผู้ที่มีประวัติการเงินดี ชำระหนี้ตามเวลา และมีหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเพียงพอ
- MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
- MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือบุคคลทั่วไป
ส่วนใหญ่ในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ให้กับผู้กู้ในช่วง 1-3 ปีแรก จากนั้นจะเริ่มคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งหลังจากนั้นผู้กู้สามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ได้ ก็จะช่วยให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงตามโปรโมชันของธนาคารใหม่อีกด้วย
3. ประเมินความสามารถในการผ่อนสินเชื่อคอนโด
เมื่อคุณหาข้อมูลและสรุปออกมาได้แล้วว่า จะตัดสินใจขอสินเชื่อคอนโดกับธนาคารไหน ก็จะพอมีตัวเลขของ วงเงินกู้สูงสุดของราคาประเมินได้ที่เท่าไร ดอกเป็นแบบไหน มีระยะเวลาในการกู้กี่ปีบ้าง มีโปรโมชันหรือส่วนลดเพิ่มเติมอะไรบ้าง
ก็ให้นำข้อมูลตัวเลขทั้งหมดมาคิดดูว่า ความสามารถในการผ่อนแต่ละเดือนจะอยู่ที่เท่าไร โดยใช้ เครื่องมือคำนวณสินเชื่อจาก ธอส. ในการคำนวณหาค่างวดจากอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เพื่อประเมินความพร้อมในการผ่อนแต่ละเดือนแบบคร่าวๆ และสามารถวางแผนการใช้จ่ายของตนเองในแต่ละเดือนได้
นอกจากการประเมินความสามารถทางการเงินของคุณเองแล้ว ทางธนาคารที่จะให้สินเชื่อก็มีการประเมินความสามารถในการผ่อนของคุณเช่นเดียวกัน โดยจะตรวจสอบจากเครดิตทางการเงินของคุณ ซึ่งได้แก่
- การชำระหนี้ที่ตรงเวลา โดยจะตรวจสอบจากวัติการชำระหนี้กับเครดิตบูโร ว่าคุณมีวินัยในการชำระหนี้ได้ตรงเวลาหรือไม่ มีการค้างชำระหนี้ หรือติดแบล็คลิสต์หรือไม่ ซึ่งถ้าหากมีประวัติเสียคุณก็อาจจะไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อสำหรับการซื้อคอนโด
- ภาระหนี้สินที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะดูจากหนี้สินโดยรวมในปัจจุบันว่ามีเกิน 30-40% ของรายได้แล้วหรือไม่ หรือถ้าขอสินเชื่อคอนโดแล้วมีหนี้สินรวมเกินกว่า 40% ของรายได้ การอนุมัติสินเชื่อก็จะเกิดขึ้นได้ยาก จึงต้องจัดการปลดหนี้เก่าให้เรียบร้อยก่อน ก็จะช่วยให้การขอสินเชื่อคอนโดสามารถทำได้ง่ายขึ้น
4. การเตรียมเงินสดก้อนแรก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
สำหรับการเลือกซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัย จะมีค่าใช้จ่ายก้อนแรก ซึ่งเป็นเงินที่อยู่นอกเหนือจากเงินกู้ซื้อคอนโดจากธนาคาร ที่คุณต้องเตรียมเอาไว้สำหรับทำสัญญา ผ่อนดาวน์ และโอนกรรมสิทธิ์ โดยค่าใช้จ่ายเบื้องต้นมีดังนี้
- เงินค่าจอง เป็นส่วนแรกที่จ่ายเพื่อจองยูนิตห้องชุดที่ต้องการ ประมาณ 3,000-5,000 บาท
- เงินค่าทำสัญญา ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
- เงินค่าผ่อนดาวน์ สำหรับคอนโดที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง สามารถผ่อนดาวน์กับโครงการจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 10-15% ของราคาคอนโด แบบไม่มีดอกเบี้ย และจะช่วยลดเงินต้นในการขอสินเชื่อให้น้อยลง และในกรณีที่กู้ไม่ผ่านก็สามารถขอคืนได้
- ค่าใช้จ่ายวันโอน เช่น ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ค่าจดจำนอง เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคา ฯลฯ
โดยเงินสดที่ต้องเตรียมสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายก้อนแรกจะขึ้นอยู่กับราคาห้อง เช่น ซื้อคอนโดราคา 2,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายตั้งแต่การจอง ทำสัญญา ค่าโอนกรรมสิทธิ์รวมแล้วอยู่ที่ 120,000 บาท และลดราคาลงได้ตามโปรโมชันที่แต่ละโครงการเสนอให้
5. เตรียมเอกสารสำหรับขอสินเชื่อให้ครบถ้วน
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญในการขอสินเชื่อนั่นคือ การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อ ซึ่งถ้าหากในขั้นตอนนี้คุณเตรียมตัวไม่ดี หรือมีเอกสารที่ไม่ครบถ้วน การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อก็จะยืดเยื้อออกไป หรือถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อได้
โดยเอกสารสำหรับขอสินเชื่อคอนโด มีอยู่ 3 หมวดหลักๆ คือ
- เอกสารส่วนบุคคล ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ, สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร, สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)
- เอกสารทางการเงิน สำหรับพนักงานประจำ ได้แก่ ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ, สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน, สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง), รูปถ่ายกิจการ, สำเนาทะเบียนการค้า, สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- เอกสารหลักประกัน ได้แก่ สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ, สำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก / หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด / อช.2 ทุกหน้า
และทางธนาคารอาจมีการขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อใช้สำหรับประกอบการพิจาณาสินเชื่อของธนาคาร
กู้ซื้อคอนโดมือหนึ่ง กับกู้ซื้อคอนโดมือสอง ต่างกันอย่างไร
การตัดสินใจเลือกระหว่างการกู้ซื้อคอนโดมือหนึ่งและมือสองเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ซื้อควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งสองทางเลือกมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน สำหรับคอนโดมือหนึ่ง ทางธนาคารมักจะให้การสนับสนุนมากกว่า โดยอาจอนุมัติวงเงินกู้สูงถึง 90-100% ของราคาประเมิน ในขณะที่คอนโดมือสองอาจได้รับวงเงินกู้เพียง 70-80% เท่านั้น นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยสำหรับคอนโดมือหนึ่งมักจะต่ำกว่า อาจต่างกันประมาณ 0.5-1% ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร เนื่องจากธนาคารมองว่าคอนโดมือหนึ่งมีความเสี่ยงต่ำกว่าในแง่ของมูลค่าหลักประกัน
แนะนำสินเชื่อเพื่อการซื้อคอนโดจาก ธอส.
สำหรับใครที่มีความพร้อมในการซื้อคอนโดแล้ว ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีรายละเอียดข้อเสนอสินเชื่อบ้านและคอนโดดีๆ มานำเสนอให้กับคุณ
โดยเรามีสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และปานกลาง หรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง เราก็มีผลิตภัณฑ์หลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม
หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่
เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ
ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์: 02 645 9000