การรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย หรือนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจถึงค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึงการรีไฟแนนซ์บ้านมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง รีไฟแนนซ์บ้านต้องเสียค่าอะไรบ้าง พร้อมเรื่องของการรีไฟแนนซ์บ้านที่ควรรู้ในปี 2567
3 ค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน 2567
อย่างที่ทราบกันดีว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและลดระยะเวลาในการผ่อนบ้าน พร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ควรศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อเป็นการประเมินความคุ้มค่ามาดูกันว่าค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง
1. ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันบ้าน ทาวน์โฮม คอนโด ก่อนกำหนด
โดยปกติแล้วทางธนาคารจะกำหนดเงื่อนไขในการทำสัญญากู้บ้านที่ห้ามไถ่ถอนหลักประกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม หรือคอนโดมิเนียม ก่อนกำหนด 3 ปี หรือ 5 ปี หากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนดจะต้องเสียค่าปรับที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้วค่าปรับกรณีไถ่ถอนก่อนกำหนดจะอยู่ที่ประมาณ 2-3% ของยอดหนี้คงเหลือ ดังนั้น ผู้กู้ควรรอให้ครบสัญญาที่กำหนดแล้วค่อยพิจารณาเรื่องรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น เพื่อไม่ต้องเสียค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันก่อนกำหนด
2. ค่าใช้จ่ายการขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น
เมื่อนำอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบแล้ว และได้อัตราดอกเบี้ยเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาเป็นขั้นตอนของการเตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีค่าใช้จ่ายในการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารอื่น ดังนี้
- ค่าประกันอัคคีภัย ปกติจะทำทุก 1-3 ปี
- ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน ประมาณ 3,000 บาท (บางธนาคารอาจไม่เสีย)
- ค่าเบี้ยประกัน MRTA (ขึ้นอยู่กับผู้กู้ว่าจะทำหรือไม่ หากทำจะได้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ)
- ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ในการทำสัญญากับธนาคาร (บางธนาคารอาจไม่เสีย)
3. ค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน
เรื่องของการรีไฟแนนซ์บ้านก็เปรียบเสมือนกับการยื่นขอกู้สินเชื่อใหม่ในวงเงินกู้ที่เหลือ เมื่อเวลาต้องไปกรมที่ดินจึงทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดินอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นค่าจดจำนอง 1% หรือค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ยกตัวอย่างเช่น ขอรีไฟแนนซ์บ้านในวงเงินกู้ 2 ล้านบาท ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายค่าจดจำนอง 1% หรือคิดเป็น 20,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 1,000 บาท เป็นต้น
3 เทคนิค รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด
การรีไฟแนนซ์บ้าน กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับเจ้าของบ้านยุคใหม่ที่ต้องการลดภาระ ลดดอกเบี้ย หรือเพิ่มวงเงินกู้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านการเงิน แต่การที่จะรีไฟแนนซ์บ้านให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด อาจไม่ใช่แค่การทำเรื่องย้ายยอดหนี้ไปยังธนาคารที่มีดอกเบี้ยถูกที่สุดเท่านั้น เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่ควรพิจารณา มาดูกันว่า 3 เทคนิค รีไฟแนนซ์บ้านให้คุ้มค่าควรทำอย่างไรบ้าง
1. ศึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายการรีไฟแนนซ์
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านประกอบไปด้วยหลายรายการ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ค่าประเมินราคาบ้าน ค่านายหน้า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คุณควรคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ครบถ้วน เพื่อเปรียบเทียบกับการประหยัดดอกเบี้ยที่จะได้รับว่าคุ้มค่าที่จะรีไฟแนนซ์บ้านหรือไม่ พร้อมทั้งการศึกษาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่าง ๆ อย่างละเอียด โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญเหล่านี้
- อัตราดอกเบี้ย เปรียบเทียบทั้งอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่และแบบผันแปร ระยะเวลาโปรโมชัน และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
- ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ พิจารณาประเภทของสินเชื่อที่เหมาะกับความต้องการตนเอง เช่น วงเงินกู้ ระยะเวลาการผ่อนชำระ หรือเงื่อนไขในการผ่อนชำระ
- สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม บางธนาคารอาจมีโปรโมชันพิเศษ เช่น ฟรีค่าธรรมเนียม ประกันชีวิต หรือวงเงินกู้พิเศษ
- บริการของธนาคาร พิจารณาความสะดวก รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือของธนาคาร
2. มองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม
การรีไฟแนนซ์บ้านให้เกิดความคุ้มค่าจะต้องมองหาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม โดยสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระระหว่างวาระดอกเบี้ยโปรโมชันในช่วง 1-3 ปี ของที่ใหม่ กับอัตราดอกเบี้ยหลังจากดอกเบี้ยโปรโมชันหมดลง เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นลักษณะลอยตัว ดังนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างดอกเบี้ยธนาคารเดิมกับค่าใช้จ่ายหลังรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดมากพอหรือไม่ เพราะในทุกปีแต่ละธนาคารจะออกโปรโมชันอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดลูกค้า ผู้กู้จึงมีหน้าที่เปรียบเทียบเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุด
3. พิจารณาเรื่องสินเชื่อส่วนบุคคล
ในกรณีที่ทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารใหม่ ทางธนาคารใหม่จะนำเสนอสินเชื่อต่อเติมบ้านมาให้เราด้วย ผู้กู้จึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับสินเชื่อนี้ เนื่องจากสินเชื่อต่อเติมบ้านเป็นวงเงินก่อนใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจะในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย หากผู้กู้มีเป้าหมายในการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อลดดอกเบี้ย การรับข้อเสนอสินเชื่อประเภทนี้ก็อาจจะผิดวัตถุประสงค์ของการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้
สรุปค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน 2567
สุดท้ายนี้ หลังจากที่ได้รู้ไปแล้วว่าค่าใช้จ่ายรีไฟแนนซ์บ้าน 2567 มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง หวังว่าคงทำให้หลายคนสามารถวางแผนของตนเองต่อไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ส่วนใครที่กำลังอยากมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง เราขอแนะนำโครงการสินเชื่อจาก ธอส. ที่มีโครงการสินเชื่อมากมายที่ตอบโจทย์คนไทยทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ พร้อมบริการคำนวณสินเชื่อเพื่อช่วยสานฝันให้คุณได้มีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองได้สำเร็จ
สำหรับใครที่กำลังต้องการขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีสินเชื่อที่หลากหลาย เพื่อออกแบบมาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของทุกคน พร้อมเปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยหลากหลายกลุ่ม
หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่
หรือติตด่อได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ G H Bank Call Center : 0-2645-9000