รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีอะไรที่คุณควรรู้บ้าง? [ห้ามพลาด]

/
/
รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีอะไรที่คุณควรรู้บ้าง? [ห้ามพลาด]

เข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น การรีไฟแนนซ์บ้านไปยังสถาบันการเงินใหม่คืออะไร? และมีอะไรที่ต้องรู้ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าง?

เข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น การรีไฟแนนซ์บ้านไปยังสถาบันการเงินใหม่คืออะไร? ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านราคาเท่าไหร่? และมีอะไรที่ต้องรู้ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าง?

การขอรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดภาระการผ่อนบ้านให้สบายกระเป๋ามากขึ้น ด้วยการทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง จากการย้ายสินเชื่อบ้านไปยังสถาบันการเงินใหม่ และยังทำให้การผ่อนบ้านหมดได้ไวขึ้นด้วย


หากคุณอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น มาดูกันว่าการรีไฟแนนซ์บ้านไปยังสถาบันการเงินใหม่คืออะไร? อยากรีไฟแนนซ์บ้านมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีอะไรที่ต้องรู้ก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าง? เพื่อให้การผ่อนบ้านของคุณได้ประหยัดและคุ้มค่าใช้จ่ายมากที่สุด

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ดีกับคนขอสินเชื่อบ้านอย่างไร?

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? ดีกับคนขอสินเชื่อบ้านอย่างไร?

รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การทำเรื่องขอกู้เงินกับสถาบันการเงินใหม่ เพื่อนำเงินก้อนนั้นไปไถ่ถอนจำนองบ้านจากสถาบันการเงินเดิม ซึ่งการขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่จะทำให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง การผ่อนชำระค่าบ้านต่อเดือนจึงประหยัดเงินได้มากขึ้น

เนื่องจากการขอสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินในช่วงปีแรกๆ มักจะมีโปรโมชันที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูก แต่เมื่อผ่อนเกินช่วง 3 ปีแรกแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะลอยตัวสูงขึ้นตาม MRR ที่ทางธนาคารกำหนด

โดยหลังจากปีที่ 3 ไปแล้ว หากไม่มีการขอรีไฟแนนซ์ จะทำให้ยอดหนี้คงเหลือลดช้าลง แม้ว่าจะชำระค่าบ้านเท่าเดิมทุกเดือน เพราะต้องนำยอดไปหักในส่วนดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น และยังทำให้ระยะเวลาในการชำระหนี้ยาวนานขึ้นด้วย

ตัวอย่าง การเปรียบเทียบรีไฟแนนซ์และไม่รีไฟแนนซ์บ้าน

ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร วงเงิน 3.5 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี เมื่อไม่มีการขอรีไฟแนนซ์บ้าน อาจต้องชำระดอกเบี้ยรวมตลอดอายุสัญญาสูงถึง 4 ล้าน รวมค่าผ่อนบ้านทั้งสิ้นอาจสูงถึง 7.5 ล้านบาท และต้องผ่อนยาวสูงสุดถึง 30 ปี

แต่ถ้ามีการขอรีไฟแนนซ์บ้าน วงเงินที่เหลือหลังจากการผ่อนไปแล้ว 3 ปี แรกจากธนาคารแรก เมื่อไปขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ จะนำยอดที่เหลือมาคำนวณกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ ทำให้ยอดรวมของเงินต้นกับดอกเบี้ยลดลง 

โดยดอกเบี้ยรวมอาจเหลือเพียง 2.2 ล้านบาท ทำให้เงินต้นรวมกับอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาใหม่ อาจลดเหลือเพียง 5.5 ล้านบาท และยังลดระยะเวลาผ่อนให้เลือกเพียง 25 ปีเท่านั้น

การรีไฟแนนซ์บ้านดีต่อผู้ขอสินเชื่ออย่างไรบ้าง?

  • ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง การรีไฟแนนซ์ไปยังสถาบันการเงินใหม่ จะนำเอายอดค้างชำระที่เหลือจากธนาคารเดิม มาคำนวณกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ถูกลง ช่วยให้จำนวนเงินผ่อนชำระถูกนำไปหักดอกเบี้ยลดลงและนำไปหักเงินต้นได้มากขึ้น 
  • เลือกยืดระยะเวลาในการผ่อนได้ การขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ สามารถขอเพิ่มระยะเวลาในการผ่อนชำระเพิ่มได้ ซึ่งเมื่อจำนวนงวดเพิ่มขึ้น ก็จะช่วยให้ยอดผ่อนบ้านต่องวดถูกลง ช่วยให้ผู้ผ่อนบ้านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้มากขึ้น

7 สิ่งที่ต้องรู้ในการขอรีไฟแนนซ์บ้าน

สำหรับผู้กู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์ มีสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนยื่นดำเนินการ เพื่อให้คุณเตรียมการผ่อนบ้านได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น และธนาคารอนุมัติสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านได้อย่างรวดเร็ว 

1. มองหาสถาบันการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าเดิม

จุดประสงค์หลักของการขอรีไฟแนนซ์บ้าน ก็เพื่อให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการผ่อนบ้านยิ่งขึ้น เมื่อต้องมองหาสถาบันการเงินเพื่อขอรีไฟแนนซ์บ้าน ข้อมูลแรกที่ต้องดูนั่นคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต้องถูกกว่าเดิม และให้คำนวณอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ปีแรกไปจนถึงปีสุดท้ายของสัญญา ว่าเฉลี่ยแล้วคุ้มค่าต่อการชำระหรือไม่

สำหรับอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. มี สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่คุ้มค่าตั้งแต่เริ่มต้นปีแรก ไปจนตลอดอายุสัญญา 

เฉลี่ย 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยจากการรีไฟแนนซ์จะอยู่ที่ 2.93% ต่อปี และหลังจากปีที่ 4 จนสิ้นอายุสัญญาอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 5.6% ต่อปี (คิดจาก MRR ตามประกาศธนาคารในปี 2565 อยู่ที่ 6.15%)

2. เลือกโครงการสินเชื่อที่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการรีไฟแนนซ์

โครงการสินเชื่อของแต่ละชนิดของสถาบันการเงิน จะมีวัตถุประสงค์ในการยื่นกู้ที่แตกต่างกันออกไป โดยก่อนที่คุณจะยื่นขอรีไฟแนนซ์จะต้องอ่านวัตถุประสงค์ของสินเชื่อให้ดีก่อน ว่าสามารถขอกู้เพื่อรีไฟแนนซ์ได้หรือไม่ เพื่อให้การยื่นขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติที่รวดเร็ว

สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์มี สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ที่เหมาะกับการขอรีไฟแนนซ์โดยเฉพาะ ด้วยวัตถุประสงค์ในการยื่นกู้ ได้แก่

  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร (บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์) หรือห้องชุด จากสถาบันการเงินอื่น
  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมอาคาร จากสถาบันการเงินอื่น และนำเงินไปปลูกสร้าง หรือต่อเติม / ขยาย / ซ่อมแซมอาคาร
  • ไถ่ถอนจำนองที่ดินเปล่า จากสถาบันการเงินอื่น พร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) 

3. ตรวจสอบระยะเวลาที่สามารถขอรีไฟแนนซ์บ้านให้ดี

ก่อนการขอรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่ จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขในการยื่นขอสินเชื่อใหม่ให้ดี โดยสถาบันการเงินเจ้าของสินเชื่อจะมีการกำหนดเอาไว้ในสัญญา ว่าผู้กู้จะสามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์ใหม่ได้ตามกำหนดระยะเวลาเท่าใด 

ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดระยะเวลาที่สามารถขอรีไฟแนนซ์ใหม่ได้ เมื่อผู้ขอสินเชื่อทำการผ่อนบ้านไปแล้วตั้งแต่ 3 ปี หรือมากกว่า แต่ถ้าหากมีการขอไถ่ถอนหนี้ก่อนกำหนด ก็อาจถูกปรับจากสถาบันการเงินเดิมที่ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ ทำให้อาจไม่คุ้มค่าต่อการดำเนินการได้

สำหรับผู้ขอกู้ที่ต้องการขอรีไฟแนนซ์บ้านให้อนุมัติได้ไวขึ้น สามารถทำได้ด้วยการดำเนินการยื่นขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ 1-2 เดือน ก่อนที่จะครบอายุสัญญาที่สามารถขอรีไฟแนนซ์ได้ เนื่องจากสถาบันการเงินใหม่จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการพิจารณาเอกสารตรวจสอบคุณสมบัติผู้กู้ และเข้ามาประเมินราคาบ้าน ก่อนที่จะอนุมัติสินเชื่อ

4. การขอรีไฟแนนซ์บ้านดำเนินการเหมือนขอสินเชื่อบ้านรอบแรก

ในการขอรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ การดำเนินการกับที่ใหม่ก็จะเหมือนกับตอนขอสินเชื่อบ้านครั้งแรก โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน และรักษาประวัติการชำระเงินค่าบ้านให้ดี เพื่อให้การขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับที่ใหม่ได้รับการอนุมัติที่รวดเร็ว

สำหรับการรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. เปิดให้บริการกับลูกค้าในทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น พนักงานประจำ บุคลากรภาครัฐ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ก็สามารถยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารได้ เพียงรักษาประวัติการเป็นลูกหนี้ที่ดีกับธนาคารเดิมไม่น้อยกว่า 12 เดือน และไม่ค้างชำระสินเชื่อบ้านตามที่ธนาคารกำหนด

และต้องเตรียมเอกสารในการดำเนินการขอรีไฟแนนซ์ให้ครบ ซึ่งได้แก่

  • เอกสารส่วนบุคคล สำหรับยืนยันตัวตนของผู้ขอสินเชื่อ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น
  • เอกสารทางการเงิน สำหรับแสดงหลักฐานรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน เป็นต้น
  • เอกสารหลักประกัน สำหรับเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ใหม่ เช่น หลักฐานการเป็นเจ้าของบ้าน สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน ใบเสร็จประวัติการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน สำเนาสัญญากู้เงิน / สัญญาจำนอง เป็นต้น

5. การขอรีไฟแนนซ์บ้านมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

ในการดำเนินการรีไฟแนนซ์บ้าน นอกจากจะมีขั้นตอนเหมือนกับตอนขอสินเชื่อบ้านครั้งแรกแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเช่นเดียวกัน โดยค่าใช้จ่ายหลักๆ ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมในการขอสินเชื่อใหม่ ไม่เกิน 1% ของวงเงินกู้ใหม่
  • ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 1,900 – 3,100 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการจำนอง 1% ของวงเงินประเมิน 
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
  • ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาท

สำหรับค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป บางแห่งอาจมีโปรโมชันฟรีค่าจดจำนอง ยกเว้นค่าธรรมเนียมในบางรายการ ไปจนถึงฟรีค่าเบี้ยประกัน โดยขึ้นอยู่กับช่วงเวลาโปรโมชันที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด 

6. การขอรีไฟแนนซ์สามารถขอวงเงินเพิ่มได้

นอกจากการขอรีไฟแนนซ์เพื่อให้ภาระการผ่อนบ้านต่อเดือนถูกลง และลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้แล้ว การขอรีไฟแนนซ์ยังสามารถให้วงเงินส่วนต่างได้อีกด้วย

เช่น จากเดิมที่คุณขอสินเชื่อบ้านจากสถาบันการเงินเดิมในวงเงิน 3 ล้านบาท หลังจากผ่อนไปแล้ว 3 ปี วงเงินอาจจะเหลือที่ประมาณ 2.6 ล้านบาท และเมื่อไปขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใหม่ ราคาประเมินบ้านอาจสูงกว่ายอดที่ขอรีไฟแนนซ์เป็น 3.2 ล้านบาท ทำให้มีส่วนต่างที่สามารถกู้มาใช้จ่ายได้

โดยเงินส่วนต่างที่ได้มาจากการรีไฟแนนซ์ จะเป็นวงเงินอเนกประสงค์ที่สามารถนำไปใช้จ่าย นำไปหมุนเวียนธุรกิจ หรือปิดหนี้ก้อนอื่นก่อนได้ สำหรับผู้ขอสินเชื่อที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ก็สามารถนำเงินส่วนต่างนี้ไปใช้ประโยชน์ได้

แต่ในการขอสินเชื่อให้ได้ส่วนต่าง นั่นหมายถึงคุณขอสินเชื่อในวงเงินที่สูงขึ้น ก่อนตัดสินใจจึงต้องคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวและความคุ้มค่าให้ดี รวมถึงวงเงินอเนกประสงค์ที่ได้มาจากส่วนต่าง อาจถูกคิดดอกเบี้ยแยกจากดอกเบี้ยบ้านด้วย

7. การจัดการกับประกัน MRTA เมื่อรีไฟแนนซ์

สำหรับผู้ที่ขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารเดิม และมีการทำประกันคุ้มครองสินเชื่อบ้าน (Mortgage Reducing Term Assurance : MRTA) ไว้ด้วย ก็สามารถขอจัดการกับกรมธรรม์ประกันได้ 2 แบบ คือ

  • เปลี่ยนชื่อผู้รับผลประโยชน์ใหม่ ให้เป็นชื่อของสถาบันการเงินที่ทำการขอรีไฟแนนซ์ จะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าทำประกันใหม่อีกครั้ง แต่ก็ต้องตรวจสอบเงื่อนไขของกรมธรรม์ให้ดีก่อนว่าจะคุ้มครองสินเชื่อรีไฟแนนซ์หรือไม่
  • ขอเวนคืนกรมธรรม์ โดยคุณจะได้รับเงินส่วนต่างตามอัตราเวนคืนในกรมธรรม์ ที่สามารถนำไปทำประกัน MRTA ใหม่กับสถาบันการเงินที่จะขอรีไฟแนนซ์ได้ 

ค่าใช้จ่ายสำคัญในการรีไฟแนนซ์บ้าน

การรีไฟแนนซ์บ้านยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ควรศึกษา รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน เพื่อเป็นการประเมินความคุ้มค่ามาดูกันว่าค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านมีอะไรบ้าง

  • ค่าปรับกรณีไถ่ถอนหลักประกันบ้าน ทาวน์โฮม คอนโด ก่อนกำหนด 
  • ค่าใช้จ่ายการขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่น
  • ค่าใช้จ่าย ณ กรมที่ดิน

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านประกอบไปด้วยหลายรายการ คุณควรคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ครบถ้วน เพื่อเปรียบเทียบกับการประหยัดดอกเบี้ยที่จะได้รับว่าคุ้มค่าที่จะรีไฟแนนซ์บ้านหรือไม่ พร้อมทั้งการศึกษาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบข้อเสนอจากธนาคารต่าง ๆ อย่างละเอียด

แนะนำสินเชื่อเพื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับ ธอส. 

ธอส. มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับการขอรีไฟแนนซ์บ้าน ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงและเลือกยืดระยะเวลาผ่อนได้สูงถึง 40 ปี ช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าผ่อนชำระบ้านได้แบบสบายกระเป๋า และยังผ่อนบ้านให้หมดไวยิ่งขึ้น

หากสนใจขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

G H BANK Call Center: 0-2645-9000

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บริการของเรา

สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน