สำหรับใครที่กำลังวางแผนมีบ้านหลังแรกเป็นของตัวเอง ภายในปี 2567 นี้ถือว่าเป็นโอกาสอันดีงาม เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการสนับสนุนให้กับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายยิ่งขึ้น วันนี้เราจะมาอัปเดตรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการบ้านหลังแรก 2567 พร้อมกับภาษีบ้านที่น่าสนใจ
มาตรการสำคัญสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัย
การมีบ้านเป็นของตัวเอง นับว่าเป็นความฝันของคนไทยจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันนี้ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การซื้อบ้านหลังแรกกลายเป็นเรื่องยากสำหรับคนรุ่นใหม่ รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และกระตุ้นการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อยกระดับประเทศสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมระดับโลกตามวิสัยทัศน์ Thailand Vision ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้มากถึง 1.7-1.8% โดยในปี 2567 รัฐบาลได้มีมาตรการสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนี้
1. มาตรการรัฐลดค่าโอน-จดจำนอง
สำหรับมาตรการรัฐ 2567 ข้อแรกที่น่าสนใจและมีผลต่อผู้ที่ซื้อบ้านเป็นอย่างมาก คือการลดค่าโอน-ค่าจดจำนอง โดยกระทรวงการคลังต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจดจำนองที่อยู่อาศัยปี 2567 โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
- ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% จากยอดเงินกู้
- ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย
ส่วนการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด โดยมีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 7 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 7 ล้านบาทต่อสัญญา โดยจะไม่รวมในกรณีขายเฉพาะส่วน และผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่กฎหมายได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. มาตรการ LTV ให้กู้เพิ่มได้ 10%
โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับมาตรการควบคุมสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัย หรือ Loan-to-Value: LTV เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยสามารถกู้บ้านได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดนมาตรการ LTV มีเกณฑ์ ดังนี้
ราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท | |
สัญญาที่ 1 | กู้ได้เต็มมูลค่าหลักประกัน |
สัญญาที่ 2 | – เงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% หากผ่อนสัญญาที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ปี (เดิม 3 ปี) – เงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% หากผ่อนสัญญาที่ 1 น้อยกว่า 2 ปี (เดิม 3 ปี) |
สัญญาที่ 3 | เงินดาวน์ขั้นต่ำ 30% |
ราคาบ้านเกิน 10 ล้านบาท | |
สัญญาที่ 1 | เงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% (เดิม 20%) |
สัญญาที่ 2 | เงินดาวน์ขั้นต่ำ 20% |
สัญญาที่ 3 | เงินดาวน์ขั้นต่ำ 30% |
โดยมาตรการดังกล่าวถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของบ้านสัญญาแรกได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และยังช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการเข้าอยู่อาศัย ซึ่งในการกู้ซื้อบ้านสัญญาแรกที่มีราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ถึงแม้ว่าเพดาน LTV 100% สำหรับสินเชื่อบ้าน แต่ผู้กู้สามารถกู้เพิ่มได้อีก 10% ของมูลค่าหลักประกัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการเข้าอยู่อาศัยจริง เช่น การตกแต่งบ้าน ซื้อเฟอร์นิเจอร์ การซ่อมแซม การต่อเติม ซึ่งหนี้ส่วนนี้เมื่อกลายเป็นหนี้ที่มีบ้านเป็นหลักประกันจะทำให้มีดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้แบบไม่มีหลักประกัน รวมทั้งยังมีการกำหนดวางเงินดาวน์ที่น้อยลงจาก 20% เป็น 10% สำหรับการกู้บ้านสัญญาแรกที่มีราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
3. ปรับเกณฑ์มาตรการ LTV เพื่อคนซื้อบ้านกรณีกู้ร่วม
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการกำกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV (Loan-to-Value Ratio) เพื่อควบคุมการปล่อยสินเชื่อและป้องกันปัญหาหนี้เสีย แต่มาตรการนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อบ้าน โดยเฉพาะในกรณีที่กู้ร่วมกัน มาตรการใหม่นี้จึงได้ปรับเกณฑ์ให้เอื้อต่อผู้กู้ร่วมที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยจะไม่นับว่าผู้กู้ร่วมรายนั้นเป็นผู้กู้ในครั้งนั้น เนื่องจากเป็นการกู้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้อยู่อาศัยเอง ซึ่งหลักการใหม่การนับสัญญาการกู้ร่วม ได้แก่
- นับสัญญาตามผู้กู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลัก
- หากผู้กู้ทั้งสองฝ่ายมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น ให้ถือว่าเป็นสัญญาที่ 2 ของผู้ที่เคยกู้มาก่อน แต่ถ้ากรรมสิทธิ์เป็นของผู้กู้ร่วมฝ่ายหนึ่งเพียงผู้เดียว ให้ถือว่าเป็นสัญญาแรกของผู้นั้น และไม่นับเป็นสัญญาที่ 2 ของผู้ที่เคยกู้บ้านมาก่อน
- หากผู้กู้ A และ B เคยกู้ร่วมกันมาก่อน โดยผู้กู้ A มีกรรมสิทธิ์คนเดียวจะนับเป็นสัญญาแรกเท่านั้น ไม่นับเป็นสัญญาแรกของผู้กู้ B เมื่อผู้กู้ B มากู้บ้านเพิ่มอีกหลังจะถือว่าเป็นสัญญาแรกของผู้กู้ B ยกเว้นถ้าตอนกู้ร่วมครั้งแรก B มีกรรมสิทธิ์ด้วย การที่ผู้กู้ B มากู้ทีหลังจะถือว่าเป็นสัญญาที่ 2 ของผู้กู้ B
ซึ่งการปรับหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยให้กลุ่มผู้กู้ร่วมที่เป็นสมาชิกครอบครัวสามารถเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจะไม่ถูกนับว่าเป็นการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของตนเองที่ทำให้มีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อตามเกณฑ์ที่ผ่อนคลายมากกว่าเดิม จึงนับว่าเป็นมาตรการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น
สรุปมาตรการรัฐ 2567 โครงการบ้านหลังแรก
สุดท้ายนี้ สำหรับมาตรการรัฐ 2567 โครงการบ้านหลังแรก ถือว่าเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบ้านของตัวเอง ด้วยสิทธิประโยชน์มากมายที่เอื้อให้ประชาชนมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่ายขึ้น แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ ควรศึกษารายละเอียดคุณสมบัติ เงื่อนไข และระยะเวลาการใช้สิทธิ์ให้ละเอียด รวมถึงวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อให้การซื้อบ้านหลังแรกเป็นไปอย่างราบรื่นและคุ้มค่า
สำหรับใครที่กำลังต้องการซื้อบ้านหลังแรกเป็นของตัวเองและตรงใจมากที่สุด ทาง ธอส. มีโครงการสินเชื่อที่ตอบโจทย์คนไทยทุกกลุ่ม ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพอะไรก็สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหลังแรกได้ทันที พร้อมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ และเปรียบเทียบสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ เพื่อเตรียมตัวซื้อบ้านหลังแรกให้คุณได้สำเร็จ
สำหรับใครที่กำลังต้องการขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีสินเชื่อที่หลากหลาย เพื่อออกแบบมาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของทุกคน พร้อมเปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยหลากหลายกลุ่ม
หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่
หรือติตด่อได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ G H Bank Call Center : 0-2645-9000