ประกันอัคคีภัยจำเป็นหรือไม่? ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

/
/
ประกันอัคคีภัยจำเป็นหรือไม่? ให้ความคุ้มครองอย่างไรบ้าง?

รู้หรือไม่!? ที่อยู่อาศัยของท่านก็มีประกันภัยที่คอยให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง หากมีภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่ๆ ทำให้ที่อยู่อาศัยของท่านเสียหายขึ้นมา อาจจะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นเงินก้อนใหญ่ ประกันอัคคีภัย จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะช่วยคุ้มครองการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเช่นนี้

โดยในบทความนี้ ธอส. จะพาคุณมารู้จักกับ ประกันอัคคีภัย ซึ่งจะช่วยคุ้มครองที่พักอาศัยของคุณจากการเกิดเหตุ ไฟไหม้และวินาศภัย ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง เรามาดูกันเลยว่าประกันอัคคีภัยนี้มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง!

fire-insurance-for-residential-01

ประกันอัคคีภัยจำเป็นหรือไม่?

ประกันอัคคีภัย คือ ประกันภัยภาคบังคับ ที่ต้องจัดให้ทำสำหรับลูกค้าที่ขอสินเชื่อและนำหลักประกันมาจดจำนองไว้กับสถาบันการเงิน เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีอย่างแน่นอน!

เนื่องจากเป็นประกันภาคบังคับ ทางธนาคารจึงจะแจ้งแก่ลูกค้าให้ทราบในทันทีที่ดำเนินการขอสินเชื่อ โดยประกันอัคคีภัยจะเริ่มให้ความคุ้มครองในวันที่ทำนิติกรรม โดยให้ความคุ้มครองตัวอาคารสิ่งปลูกสร้าง จากการเกิดวินาศภัย ที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร การระเบิดของแก๊สหุงต้ม ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) หรือภัยธรรมชาติต่างๆ

โดยกรมธรรม์ประกันนั้น จะให้ความคุ้มครองระยะสั้นราว 1-3 ปี ผู้กู้ หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ จึงต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในทุกๆ รอบระยะเวลานี้

  • อัตราเบี้ยประกันของประกันอัคคีภัย

อัตราค่าเบี้ยประกันของประกันอัคคีภัยนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกันภัย แต่โดยมากจะใช้เงื่อนไขต่างๆ ในการกำหนดราคา ดังนี้

  • ลักษณะการใช้สถานที่
  • ลักษณะของสิ่งปลูกสร้างประเภทอาคาร (กำหนดตามวัสดุที่ใช้สำหรับโครงสร้าง ผนัง พื้นของอาคาร) และสถานที่ตั้ง
  • ลักษณะภัยของสถานที่เอาประกันภัย (ภัยโดดเดี่ยว/ภัยไม่โดดเดี่ยว)

fire-insurance-for-residential-02

ประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองกรณีใดบ้าง?

ประกันอัคคีภัยนั้น จะให้ความคุ้มครองในที่พักอาศัยประเภทบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารตึกแถว แฟลตหรือคอนโดมิเนียม โดยจะให้ความคุ้มครองกรณีเพลิงไหม้จากเหตุการณ์ดังนี้

  • ไฟไหม้
  • ฟ้าผ่า รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดการลัดวงจรเนื่องจากฟ้าผ่า
  • ภัยระเบิด
  • ภัยจากยวดยานพาหนะ
  • ภัยจากอากาศยาน หรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน
  • ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม)

โดยหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ จะให้การชดเชยในทรัพย์สินต่างๆ ดังนี้

  • ตัวอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ไม่รวมรากฐาน)
  • ห้องชุด อาคารชุด แฟลต หรือคอนโดมิเนียม
  • ทรัพย์สินที่อยู่ภายในสิ่งปลูกสร้าง เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ฯลฯ
  • ทรัพย์สินอื่นที่มีมูลค่าสูงเช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร ฯลฯ

หมายเหตุ: นอกจากประกันอัคคีภัยแล้ว ยังมีประกันภัยบ้านอื่นๆ อีกมากมายที่ให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บทความ >>> “ประกันภัยบ้าน” สิ่งจำเป็นที่หลายคนมองข้าม
กรณีใดที่ประกันอัคคีภัยไม่ให้ความคุ้มครอง?
แม้ว่าประกันอัคคีภัยจะให้ความคุ้มครองการเกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่ก็มีบางกรณีที่เป็นข้อยกเว้นเช่นกัน ได้แก่

  • เหตุเพลิงไหม้ที่ผู้เอาประกันมีส่วนรู้เห็น หรือมีส่วนร่วมด้วย
  • ความเสียหายจากการเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่
  • ภัยจากสงคราม การก่อการร้าย การจราจล การรุกราน การก่อความวุ่นวายทางการเมือง การก่อวินาศกรรม การนัดหยุดงาน
  • ระเบิดนิวเคลียร์ การแผ่ของสารกัมมันตรังสี หรือจากกากนิวเคลียร์

นอกจากนี้ ยังมีทรัพย์สินบางประเภทที่อยู่นอกเหนือความคุ้มครองของประกันอัคคีภัยบ้าน ได้แก่

  • สินค้าที่อยู่ในการดูแลรักษาของผู้เอาประกันภัย หรือในฐานะผู้ดูแลรักษา
  • เงินแท่ง เงินรูปพรรณ ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ อัญมณี หรือของมีค่า
  • โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 10,000 บาท
  • เอกสารสำคัญต่างๆ แบบแปลน แผนผัง ภาพเขียน รูปออกแบบ สมุดบัญชี รวมถึงเงินตรา และธนบัตร
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า แผงวงจรไฟฟ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สายไฟหรือหลอดไฟฟ้า ที่ได้รับความสียหายเนื่องจากการเดินเครื่องเกินกำลัง
  • วัตถุระเบิด
  • ยานพาหนะทุกชนิด ไม่ว่า ทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเลือกประกันอัคคีภัย

ประกันอัคคีภัยนั้นมีให้เลือกมากมายหลายบริษัท โดยในขั้นตอนการเลือกทำประกัน นั้น ธอส. อยากให้คุณพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ก่อนตัดสินใจ ดังนี้

  • ควรเลือกบริษัทที่ให้ความคุ้มครอง หรือให้เงินชดเชยเป็นจำนวนอย่างต่ำ 70% ของราคาสินทรัพย์ เนื่องจากเหตุเพลิงไหม้นั้นสร้างความเสีย
  • หายรุนแรงรอบตัวบ้าน จึงควรเลือกเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายจากความเสียหายส่วนใหญ่ได้
  • ควรอ่านเงื่อนไขกรมธรรม์ และทำการเปรียบเทียบกับเจ้าอื่นๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองให้มากที่สุด
  • หากทำประกันมากกว่า 1 ที่ บริษัทประกันนั้นจะแบ่งความรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายคนละครึ่ง ไม่ใช่ได้รับเงินชดเชย 2 เท่าแต่อย่างใด

fire-insurance-for-residential-03

ชำระเบี้ยประกันอัคคีภัยบ้านผ่านแอปฯ GHB ALL

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าสามารถทำการชำระเบี้ยประกันอัคคีภัยบ้านได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL

บริการใหม่ล่าสุดจาก GHB ALL เปิดให้ลูกค้าที่ครบกำหนดต่ออายุกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยบ้าน สามารถชำระค่าเบี้ยประกัน ได้ในระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคมของทุกปี เพียงเลือกฟังก์ชัน “ชำระเงินกู้/ค่าบริการอื่น ๆ” จากนั้นเลือก “ชำระค่าประกันอัคคีภัย” ภายในแอปพลิเคชัน

เพียงกรอกเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขบัญชีเงินกู้ จากนั้นสามารถทำการเลือกบัญชีที่ต้องการชำระค่าเบี้ยได้ทันที!

โดยลูกค้าสามารถเลือกชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

ชำระผ่าน GHB ALL โดยตรง
สร้าง QR Code เพื่อนำไปชำระผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารอื่น

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน GHB ALL ได้ที่

Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.gov.ghb.ghball&hl=th
IOS: https://itunes.apple.com/th/app/ghb-all/id1437354756?l=th&mt=8

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดตามข้อมูลข่าวสารของธนาคารได้ที่

ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center) โทร: 0-2645-9000
เว็บไซต์: www.ghbank.co.th
Facebook: ธนาคารอาคารสงเคราะห์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บริการของเรา

สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

มาดูกันว่า 3 สินเชื่อบ้าน ธอส. อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนชำระล้านละ 3,300 บาท/เดือน มีอะไรบ้าง และแต่ละโครงการสินเชื่อเหมาะกับใคร
ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 จุดตรวจสอบบ้านมือสอง ที่ควรรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง การตรวจรับบ้าน เป็นขั้นตอนสำคัญที่คนที่จะซื้อบ้านทุกคนควรรู้
ในบทความนี้ ธอส. ได้รวบรวม 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ที่ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย ให้ได้นำมาปลูกกัน ช่วยเพิ่มความร่มรื่น และช่วยเพิ่มความสิริมงคล

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน