เช็คลิสต์ตรวจรับคอนโดก่อนโอน เช็คชัวร์ไม่ให้พลาด

/
/
เช็คลิสต์ตรวจรับคอนโดก่อนโอน เช็คชัวร์ไม่ให้พลาด

คอนโดมิเนียมหรู ทำเลดี ติดรถไฟฟ้า คงเป็นความใฝ่ฝันของคนวัยทำงานหลายคน แต่เมื่อห้องสร้างเสร็จแล้ว ก็ใช่ว่าจะสวยหรูเหมือนภาพโฆษณาหรือห้องตัวอย่างเสมอไป จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตรวจเช็คห้องให้ดีเสียก่อน ขั้นตอนตรวจรับคอนโดจึงสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าตรวจไม่ละเอียด แล้วเผลอรับโอนไป ก็ต้องวุ่นวายกับการติดต่อให้โครงการมาซ่อมแซม

รูปที่1 ภายในบทความตรวจรับคอนโด

ดังนั้น ทางที่ดีควรตรวจรับคอนโดให้ละเอียดตั้งแต่แรก จะทำให้การซื้อคอนโดของคุณสะดวกและสบายใจที่สุด และนี่ก็คือ 9 เช็คลิสต์จำเป็นสำหรับการตรวจรับคอนโด ที่คุณก็สามารถตรวจเองได้

9 จุด ที่ต้องดูเมื่อตรวจรับคอนโด 

1. ประตู หน้าต่าง

  • ประตู

อันดับแรกควรตรวจสอบว่าบานประตู ลูกบิด บานพับ กลอนและล็อก สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ ต่อมาให้ดูความเรียบร้อยของเนื้องาน เช่น รอยตำหนิบนบานประตู ระยะห่างระว่างวงกบกับประตู รอยแตกตามขอบมุมของวงกบ สนิมบนบานพับและลูกบิด ฯลฯ 

  • หน้าต่าง ประตูเลื่อน

สิ่งที่สำคัญที่สุดของหน้าต่างและประตูเลื่อน คือ ขอบยางกันรั่วซึม ควรตรวจสอบด้วยการฉีดน้ำไปที่ขอบมุมของบานหน้าต่าง นอกจากนี้ยังต้องดูด้วยว่าล็อกใช้งานได้ดีไหม และมีรอยขีดข่วน หรือรอยขนแมวบนกระจกหรือไม่ 

2. ผนัง

  • สี

สีต้องไม่แตก หรือหลุดล่อน มีรอยด่างหรือปูดออกมา ควรใช้ไฟฉายส่องไล่ตรวจดูความสม่ำเสมอของสี และความเรียบของผนัง รวมถึงตรวจดูว่ามีรอยร้าวหรือไม่ โดยเฉพาะตามมุมและรอยต่อ 

  • วอลเปเปอร์

วอลเปเปอร์ต้องไม่มีรอยขาด ระหว่างแผ่นต้องเรียบสนิท สีสม่ำเสมอและไม่มีรอยกาว แต่จุดที่สำคัญคือ ให้เช็คว่ามีเชื้อราหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับบริเวณที่ใกล้กับห้องน้ำ เพราะมีความชื้นสูง

  • บัวพื้น

บัวพื้น คือ ส่วนแถบรอยต่อระหว่างพื้นกับผนัง ควรดูความเรียบร้อยของสี และความเรียบเนียนของรอยต่อ

3. พื้น

  • กระเบื้อง

พื้นกระเบื้องต้องเรียบ ไม่ล่อนหรือบิ่น ยาแนวเรียบร้อย สามารถทดสอบความแน่นของปูนกาวใต้กระเบื้องได้ โดยการใช้เหรียญหรือไม้เคาะและฟังเสียงให้ทั่วทั้งแผ่นและทุกแผ่น แต่ปัญหาที่มักเจอบ่อย คือ กระเบื้องสีเพี้ยน เพราะโดยปกติแล้วกระเบื้องแบบเดียวกัน แต่คนละล็อตก็อาจมีสีที่แตกต่างกันเล็กน้อยได้

  • ลามิเนต

ปัญหายอดฮิตของพื้นลามิเนต คือ พื้นยุบ สามารถตรวจได้ง่าย ๆ โดยการลองเหยียบดูให้ทั่ว หากเหยียบแล้วเกิดรอยแยก หรือมีฝุ่นพุ่งออกมา ก็ควรต้องแก้ไขให้เรียบร้อย

4. ฝ้าเพดาน

ฝ้าเพดานเป็นอีกจุดที่ควรตรวจสอบ โดยใช้บันไดปีนขึ้นไปดูในช่องเซอร์วิส ว่ามีรอยรั่วซึมและเดินสายไฟเรียบร้อยดีหรือไม่ นอกจากนี้ระนาบฝ้าเพดานก็ต้องเรียบ ไม่แตกร้าว ไม่มีลักษณะแอ่นหรือโค้งงอ (เรียกอีกอย่างว่า “ตกท้องช้าง”) รวมถึงความสูงของฝ้าเพดานก็ต้องเป็นไปตามสัญญาด้วย

5. ห้องน้ำ

  • โซนเปียก

โซนเปียก ควรตรวจสอบเรื่องแรงดันน้ำ ความลาดเอียงของพื้นห้องน้ำ การระบายน้ำ การรั่วซึมตามขอบกระจก และอีกจุดที่ไม่ควรมองข้าม คือ ตรวจดูว่ารูระบายน้ำ (Floor Drain) กับท่อน้ำต่อกันแนบสนิทดีหรือไม่ หากไม่สนิทอาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมไปยังห้องด้านล่างได้

  • อ่างล้างหน้า

ควรปิดสะดืออ่างล้างหน้า ให้น้ำสูงขึ้นจนถึงรูระบายด้านบน (Overflow) เพื่อทดสอบการรั่วซึม

รูปที่2 ภายในบทความตรวจรับคอนโด

  • ชักโครก

ควรทดลองใช้งาน อาจใช้ขนมปังแทนสิ่งปฏิกูล แล้วดูว่ามีกลิ่นไม่พึงประสงค์ การรั่วซึมตามขอบด้านล่าง และท่ออุดตันหรือไม่

6. ระเบียงนอกห้อง

  • ระเบียง

ควรตรวจดูว่าโครงสร้างระเบียงแข็งแรง และทาสีทั่วหรือไม่ มิฉะนั้นอาจเกิดสนิมได้ง่าย ส่วนพื้นระเบียงและรูระบายน้ำก็ทดสอบเช่นเดียวกับพื้นห้องน้ำ

  • ท่อแอร์

ควรทดลองเปิดแอร์ เพื่อดูว่ามีน้ำแอร์รั่วซึมหรือไม่ และน้ำแอร์ไหลลงรูระบายน้ำพอดี โดยไม่มีน้ำขัง 

7. ระบบไฟ

  • สวิตช์ และเต้ารับ

ควรทดลองใช้งานดูทุกจุด สำหรับเต้ารับ ควรใช้เครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล (ELCB Tester) ทดสอบความถูกต้องของการเดินสายไฟ สายดิน และระบบตัดไฟ สำหรับการใช้งานเครื่อง ควรศึกษาอย่างละเอียดเพื่อความปลอดภัย

  • เครื่องใช้ไฟฟ้า

เช่น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไฟฟ้า เครื่องดูดควัน ฯลฯ ควรทดลองใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดสักระยะหนึ่ง ว่ามีปัญหาการใช้งานหรือไม่

8. เฟอร์นิเจอร์

เฟอร์นิเจอร์ที่แถมมากับตัวห้อง เช่น ตู้ โต๊ะ เคาน์เตอร์ เตียง ฯลฯ ต้องมีจำนวนและสเปกตามสัญญา ไม่มีร่องรอยขีดข่วนหรือความเสียหาย และควรตรวจดูสภาพบานพับ บานเลื่อนต่าง ๆ โดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ Built-in ว่าประกอบและติดตั้งอย่างดีหรือไม่ 

9. มิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ

มิเตอร์เป็นจุดหนึ่งที่หลายคนอาจละเลยไป ควรตรวจสภาพภายนอกและดูว่ามิเตอร์หมุนโดยที่เรายังไม่ได้ใช้น้ำและไฟฟ้าหรือไม่

ทั้ง 9 จุดนี้คือ จุดสำคัญที่ต้องเช็คให้ละเอียดเมื่อตรวจรับคอนโด หลังจากตรวจแล้ว ควรจดบันทึกตำหนิและถ่ายภาพให้ละเอียด แล้วส่งให้โครงการดำเนินการแก้ไข เพราะถ้าห้องยังไม่เรียบร้อยแต่เราเซ็นรับไปแล้ว โครงการอาจไม่แก้ไขให้หรือมีกระบวนการที่ยุ่งยาก รวมถึงอาจเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะตรวจรับบ้าน (Link ไปบทความตรวจรับบ้าน) และคอนโดได้ครบถ้วน ปัจจุบันก็มีบริษัทรับตรวจบ้านมากมายให้เลือกใช้บริการ แต่ก็ต้องเลือกและพิจารณาบริษัทอย่างรอบคอบเช่นเดียวกัน

ตามปกติแล้ว ขั้นตอนการตรวจรับคอนโด อาจจะมีการแก้ไขงาน 2-3 ครั้งตามเงื่อนไขของโครงการ ก็เป็นอันเรียบร้อย ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการรับโอน (Link ไปบทความรับโอน) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาและเอกสารค่อนข้างเยอะ แน่นอนว่าผู้ซื้อก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีเพื่อจะได้ไม่มีปัญหา และเข้าอยู่อาศัยได้อย่างสบายใจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บริการของเรา

สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน