บ้าน นับเป็นหนึ่งในทรัพย์สินชิ้นสำคัญสำหรับผู้ที่อยากมีความมั่นคงในชีวิต แต่ด้วยมูลค่าที่สูง การกู้ซื้อเพียงคนเดียวอาจสร้างภาระการเงินจนเกินตัวได้
เพราะฉะนั้น การกู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนที่หมายมั่นปั้นมือจะใช้ชีวิตร่วมกัน จึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้การกู้เป็นไปได้ง่ายขึ้น
บทความนี้ ธอส. จะมาตอบคำถามที่ว่า การกู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟนนั้น สามารถทำได้อย่างไร? และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง!
ซื้อบ้านร่วมกับแฟนมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง?
ซื้อบ้านร่วมกับแฟนอาจเป็นจุดมุ่งหมายหลักในชีวิตคู่ของใครบางคน เนื่องจากการกู้ร่วมจะช่วยให้สถาบันการเงินเห็นว่า ผู้ร่วมรับภาระหนี้มีความสามารถทางการเงินเพียงพอที่จะผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยคืนได้ตามสัญญา
นอกจากนี้ยังทำให้สถาบันทางการเงินอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย!
โดยจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขการกู้ดังนี้
- ผู้ขอสินเชื่อต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 40 ปี แต่เมื่อนำอายุของผู้ขอรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระสินเชื่อแล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี
- เป็นคู่รักที่จดทะเบียนสมรสร่วมกัน
- ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีหลักฐานยืนยันการแต่งงาน เช่น ภาพถ่าย
- ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีบุตรร่วมกัน (หนังสือรับรองบุตร)
หมายความว่า ผู้ที่เป็นแฟนกันโดยไม่มีหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์นั้น จะไม่สามารถทำการขอกู้ร่วมซื้อบ้านได้นั่นเอง
ข้อดีและข้อควรระวังในการกู้ร่วมซื้อบ้าน
แม้ว่าการกู้ร่วมจะมีส่วนช่วยให้การซื้อบ้านร่วมกับแฟนเป็นไปได้อย่างง่ายดาย แต่ทั้งนี้ก็มีข้อควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน เรามาดูกันว่าข้อดีและข้อควรระวังในการกู้ร่วมซื้อบ้านมีอะไรบ้าง!
ข้อดีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน
โดยมากแล้ว ปัญหาหลักๆ ของการกู้ร่วมซื้อบ้านก็คือ สถานะทางการเงินไม่เพียงพอที่จะรับผิดชอบหนี้สิน หรือมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี
ด้วยเหตุนี้ ข้อดีที่ทำให้หลายๆ เลือกการกู้ร่วมซื้อบ้านก็คือ
- มีโอกาสในการ อนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
- อาจได้ วงเงินเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากสถาบันทางการเงินถือว่าการมีผู้มากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยจะเพิ่มความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยง และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผู้ยื่นขอสินเชื่อ ส่งผลให้มีโอกาสที่จะยินยอมอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น
ข้อควรระวังในการกู้ร่วมซื้อบ้าน
แม้ว่าการกู้ร่วมจะมีข้อดีที่ตอบโจทย์ใครหลายคน แต่ก็มีข้อควรระวังที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน โดยสิ่งที่คุณควรคำนึงก่อนดำเนินเรื่องกู้ร่วมซื้อบ้าน มีดังนี้
-
รับผิดชอบหนี้ร่วมกัน
การกู้ร่วมซื้อบ้านจะนับว่า มีภาระหนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพราะฉะนั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ อีกคนหนึ่งก็ต้องรับหน้าที่จ่ายในส่วนนั้นด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้น
นอกจากนี้ การขอถอนรายชื่อจากการเป็นผู้กู้ร่วมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทางธนาคารจะทำการตรวจสอบใหม่อีกครั้งว่าผู้กู้คนที่เหลือมีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงพอหรือไม่ หากคุณสมบัติไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้
และที่สำคัญ แม้จะมีการจ่ายหนี้จากผู้กู้เพียงคนเดียว แต่ตราบใดที่อีกฝ่ายยังมีชื่อในสัญญากู้ร่วมซื้อบ้าน บ้าน ก็ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมเช่นเดียวกัน ซึ่งกรณีนี้สร้างปัญหาให้กับผู้กู้ร่วมซื้อบ้านหลายกรณีมากมาย เช่น อีกฝ่ายไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของมาให้ เพราะฉะนั้น จึงต้องคำนึงเรื่องนี้กันให้ดีๆ
-
การขายบ้านต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย
ในกรณีของการกู้ร่วมซื้อบ้าน หากต้องการขายบ้านที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จะต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย ซึ่งการกู้ร่วมนั้นทำให้กรรมสิทธิ์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายระหว่างเรากับแฟนนั่นเอง
โดยมักจะเกิดในกรณีที่คู่รักหย่าร้าง หรือเลิกรากัน ซึ่งคนหนึ่งอยากขายบ้านแต่อีกคนหนึ่งไม่ยินยอม ทำให้การขายต้องถูกยืดระยะเวลาออกไปจนกว่าจะยินยอมทุกฝ่าย โดยอาจลุกลามไปจนถึงการฟ้องร้องกันเป็นเรื่องใหญ่โต
เพราะฉะนั้นควรจะมั่นใจให้ดีๆ ว่าจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับชีวิตคู่ในภายหลัง จากนั้นจึงค่อยทำการตัดสินใจกู้ซื้อบ้านร่วมกัน
เอกสารจำเป็นสำหรับการยื่นกู้
เอกสารจำเป็นสำหรับการกู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน มีด้วยกันดังนี้
เอกสารข้อมูลส่วนตัว
- บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
- เอกสารหลักประกัน (ตามที่สถาบันทางการเงินกำหนด)
เอกสารยืนยันสถานะคู่สมรส
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้กู้ร่วม (แฟน / คู่สมรส)
- สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
- สำเนาทะเบียนสมรส
- หนังสือรับรองบุตร
เอกสารแสดงรายได้
กรณีอาชีพประจำ
- หนังสือรับรองเงินเดือน / หนังสือรับรองสิทธิสวัสดิการ
- สลิปเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน
- Statement เงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมฉบับจริง)
กรณีอาชีพอิสระ
- Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมฉบับจริง)
- สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ / ทะเบียนบริษัท / ทะเบียนนิติบุคคล
- หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
- ภาพถ่ายกิจการ 3 – 4 ใบ
- สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
- สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสั่งซื้อสินค้า
- หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)
แนะนำสินเชื่อเพื่อการซื้อที่อยู่อาศัยจาก ธอส.
หากคุณกำลังจะตัดสินใจจะกู้ซื้อบ้านร่วมกับแฟน ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีรายละเอียดข้อเสนอสินเชื่อบ้านและคอนโดดีๆ มานำเสนอให้กับคุณ!
เรามีสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และปานกลาง หรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง เราก็มีผลิตภัณฑ์หลากหลายที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม
หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่
เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ หรือ
ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์: 02 645 9000