เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อรับมือกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ปี 2568

/
/
เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อรับมือกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ปี 2568

รู้ทัน Phishing คือภัยร้ายแรงออนไลน์ปี 2568 ที่แฝงมาในทุกแพลตฟอร์ม เรียนรู้กลลวงมิจฉาชีพล่าสุดและวิธีป้องกันก่อนสายเกินแก้

โลกดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็วนำมาซึ่งความสะดวกสบาย แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากภัยบนโลกออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการหลอกลวงแบบ Phishing คือหนึ่งในภัยร้ายแรงที่ทวีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในปี 2568 บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการของมิจฉาชีพและเตรียมรับมือกับกลลวงมิจฉาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Phishing คืออะไร

ภัยออนไลน์มีอะไรบ้าง

Phishing คือรูปแบบการหลอกลวงทางออนไลน์ที่มิจฉาชีพจะปลอมแปลงตัวเองเป็นองค์กรหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลทางการเงิน Phishing Scam คือการหลอกลวงที่ใช้จิตวิทยาชั้นสูง มักมาในรูปแบบอีเมล ข้อความ เว็บไซต์ปลอม หรือการโทรศัพท์ที่ออกแบบมาให้ดูเหมือนของจริงมากที่สุด

กลลวงมิจฉาชีพออนไลน์ปี 2568

ในปี 2568 ภัยออนไลน์มีอะไรบ้าง? จากสถิติล่าสุดพบว่ามีผู้แจ้งเหตุถูกหลอกกว่า 1.1 ล้านสาย! กลลวงมิจฉาชีพมีความซับซ้อนและแยบยลมากขึ้น โดยมิจฉาชีพมักใช้เทคนิคหลอกลวงหลัก 3 รูปแบบที่ยังคงได้ผลดีในการล่อเหยื่อ ได้แก่ การเสนอผลตอบแทนสูง การสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ และการใช้บุคคลมีชื่อเสียงมาช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ

ผลตอบแทนสูง

กลยุทธ์ยอดนิยมของภัยบนโลกออนไลน์คือการหลอกให้ลงทุนโดยสัญญาว่าจะได้ผลตอบแทนสูงเกินความเป็นจริง เช่น รับดอกเบี้ย 10-20% ต่อเดือน หรือเงินคืน 2-3 เท่าในระยะเวลาสั้น ๆ มิจฉาชีพจะสร้างความเร่งรีบให้ตัดสินใจเพื่อไม่ให้เหยื่อมีเวลาตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบ ทำให้คนจำนวนมากหลงเชื่อและโอนเงินให้โดยง่าย

สร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ

กลลวงมิจฉาชีพอีกรูปแบบหนึ่งคือการลงทุนสร้างภาพให้ดูน่าเชื่อถือ เช่น มีการจัดสัมมนาใหญ่โตในโรงแรมหรู อ้างว่าจดทะเบียนถูกต้อง มีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ หรือสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ดูมืออาชีพ Phishing คือภัยที่มาในรูปแบบที่น่าเชื่อถือจนยากจะสังเกตความผิดปกติ บางครั้งมิจฉาชีพยังจ่ายผลตอบแทนจริงในช่วงแรกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นก่อนจะหลอกเงินก้อนใหญ่

ใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงสร้างความน่าเชื่อถือ

มิจฉาชีพมักจะใช้ชื่อหรือรูปภาพของคนดังมาโฆษณาสินค้าหรือบริการ บางครั้งก็สร้างภาพตัดต่อหรือใช้เทคโนโลยี AI สร้างคลิปปลอมที่ทำให้ดูเหมือนคนดังกำลังแนะนำการลงทุน เป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังเพราะคนทั่วไปมีแนวโน้มจะเชื่อถือบุคคลที่มีชื่อเสียง ภัยออนไลน์มีอะไรบ้าง ที่น่ากลัวไปกว่านี้ คือบางครั้งมิจฉาชีพยังอ้างชื่อหน่วยงานราชการเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถืออีกด้วย

ใครบ้างที่ตกเป็นเป้าหมายของมิจฉาชีพ

กลลวงมิจฉาชีพ

ภัยบนโลกออนไลน์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทุกช่วงวัยล้วนมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของกลลวงมิจฉาชีพ เพียงแต่เทคนิคที่ใช้และจุดอ่อนที่ถูกโจมตีจะแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มอายุ

วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี

วัยรุ่นซึ่งเติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีมักเชี่ยวชาญการใช้งานออนไลน์ แต่กลับขาดประสบการณ์ในการแยกแยะความน่าเชื่อถือ Phishing คือภัยที่มักแฝงมาในรูปแบบการหารายได้พิเศษ การลงทุนในเกมออนไลน์ หรือโอกาสทำเงินง่ายๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้วัยรุ่นหลายคนสูญเสียเงินเก็บหรือถูกหลอกให้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน

กลุ่มอายุ 20-49 ปี

กลุ่มวัยทำงานเป็นเป้าหมายหลักของภัยออนไลน์มีอะไรบ้าง เนื่องจากมีรายได้สูงและมักสนใจการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่ง มิจฉาชีพมักใช้กลยุทธ์หลอกลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หุ้น หรือธุรกิจที่อ้างว่าให้ผลตอบแทนสูง กลุ่มนี้มีความเสียหายมากที่สุดถึง 8,223 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา เพราะมักถูกหลอกด้วยจำนวนเงินที่สูงกว่า

กลุ่มอายุ 50-64 ปี

คนในวัยนี้มักมีเงินเก็บสูงแต่อาจไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีมากนัก Phishing คือภัยที่มักเข้าถึงกลุ่มนี้ผ่านช่องทางออนไลน์ที่พวกเขาคุ้นเคย เช่น LINE หรืออีเมล โดยหลอกว่าบัญชีธนาคารมีปัญหา หรือเสนอโอกาสการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารหลายเท่า กลุ่มนี้สูญเสียเงินไปแล้วกว่า 5,330 ล้านบาท

ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป

ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดต่อกลลวงมิจฉาชีพ มักถูกโจมตีด้วยการหลอกว่ามีปัญหาทางกฎหมาย ถูกอายัดบัญชี หรือมีคนแอบใช้ข้อมูลส่วนตัว มิจฉาชีพจะสร้างความตื่นตระหนกและใช้เทคนิคกดดันให้ตัดสินใจเร็ว ทำให้ผู้สูงอายุหลายคนโอนเงินเพื่อแก้ปัญหาที่ไม่มีอยู่จริง สร้างความเสียหายกว่า 2,439 ล้านบาท

วิธีป้องกัน Phishing ป้องกันการโจมตีจากมิจฉาชีพ

เมื่อรู้แล้วว่าภัยออนไลน์มีอะไรบ้าง มาเรียนรู้วิธีป้องกันตัวจากกลลวงมิจฉาชีพกันดีกว่า

  • อย่าเชื่อข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง – หากผลตอบแทนสูงเกินปกติ ให้สงสัยไว้ก่อน
  • ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล – สังเกตชื่อเว็บไซต์ อีเมล หรือเบอร์โทรศัพท์ให้ดี
  • ไม่กดลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
  • ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหรือการเงินเมื่อมีคนติดต่อมาโดยที่คุณไม่ได้ร้องขอ
  • ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและเปิดใช้การยืนยันตัวตนสองชั้น (2FA)
  • หมั่นติดตามข่าวสารเกี่ยวกับรูปแบบการหลอกลวงใหม่ ๆ

สรุปการรับมือและรู้ทันกลลวงมิจฉาชีพออนไลน์

ซื้อบ้าน 10 ล้าน สามารถกู้ 100% ได้ไหม

Phishing คือภัยออนไลน์ที่ทุกคนควรระวัง ไม่ว่าจะอายุเท่าไรหรือมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแค่ไหน ในยุคที่ทุกคนต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ G H Bank มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการมอบบริการทางการเงินที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ ด้วยประสบการณ์กว่า 71 ปี ธอส. พร้อมให้คำปรึกษาด้านสินเชื่อบ้านอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง มั่นใจได้ว่าคุณจะได้รับบริการจากสถาบันการเงินของรัฐที่น่าเชื่อถือ

หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

หรือติดต่อได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ G H Bank Call Center :  0-2645-9000 กด 5

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

เช่าหรือซื้อบ้านดี เปรียบเทียบทุกแง่มุม ข้อดี-ข้อเสีย พร้อมค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจว่าแบบไหนเหมาะกับไลฟ์สไตล์คุณมากที่สุด
เปิดเทียบความแตกต่าง อพาร์ทเม้นท์กับหอพักต่างกันยังไง ในเชิงกฎหมาย การจดทะเบียน เงื่อนไขผู้เช่า และการประกอบกิจการ พร้อมข้อมูลสินเชื่อลงทุน
วิธีเช็กรอยร้าวแบบไหนอันตรายหลังแผ่นดินไหว จากรอยแตกเส้นผมที่อันตรายต่ำ จนถึงรอยแตกเฉียงที่ต้องระวังมากที่สุด พร้อมวิธีแจ้งเจ้าหน้าที่และเงินเยียวยา

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน