ชวนรู้จักการขายทอดตลาดคืออะไร พร้อมเผยทุกขั้นตอนที่คุณต้องรู้

/
/
ชวนรู้จักการขายทอดตลาดคืออะไร พร้อมเผยทุกขั้นตอนที่คุณต้องรู้

การขายทอดตลาดคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักอย่างละเอียด พร้อมเผยทุกขั้นตอนสำคัญที่คุณต้องรู้ก่อนเข้าร่วมประมูล

การซื้อบ้านนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตใครหลายคน โดยเฉพาะราคาบ้านที่สูงลิ่วในปัจจุบันนี้ที่อาจทำให้หลายคนต้องชะงัก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อบ้านในราคาย่อมเยา นั่นก็คือ การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาด แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการขายทอดตลาดคืออะไร และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการขายทอดตลาดอย่างละเอียด พร้อมเผยทุกขั้นตอนสำคัญที่คุณต้องรู้ก่อนเข้าร่วมประมูล

ทำความรู้จักการขายทอดตลาดคืออะไร

การขายทอดตลาด คือ กระบวนการขายทรัพย์สินโดยเปิดให้มีการประมูลราคากันอย่างเปิดเผย โดยผู้ที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสิทธิ์ในการซื้อทรัพย์สินนั้น ในกรณีของการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ดำเนินการโดยกรมบังคับคดี มักเกิดจากกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ทำให้เจ้าหนี้นำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมาขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล

กฎระเบียบและข้อบังคับที่ควรศึกษาก่อนเข้าประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี

ก่อนที่จะเข้าร่วมการประมูลทรัพย์สินกับกรมบังคับคดี ควรศึกษากฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อเป็นการป้องกันสิทธิ์ของตัวเองและไม่ให้เสียผลประโยชน์ที่อาจถูกลวงหลอกจากผู้แอบอ้างได้ โดยกฎระเบียบและข้อบังคับสำคัญสำหรับผู้ที่สนใจต้องรู้ ได้แก่

  • ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพิ่ม หรือลดชื่อผู้ซื้อได้ภายหลัง
  • หากต้องการให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน ต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจก่อนการประมูล
  • การประมูลใช้วิธีเสนอราคาด้วยวาจา
  • เจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีมีอำนาจเพิกถอนการขาย หากเห็นว่าราคาที่ประมูลได้ต่ำเกินไป
  • การประมูลจะสมบูรณ์เมื่อเจ้าหน้าที่ขานราคาสูงสุดครบ 3 ครั้งและเคาะไม้
  • ผู้ชนะการประมูลต้องชำระเงินให้ครบภายใน 15 วัน หากไม่สามารถชำระในวันที่กำหนดได้ อาจจะต้องขอขยายเวลาได้ไม่เกิน 3 เดือน

การทำความเข้าใจกฎระเบียบเหล่านี้จะช่วยให้คุณเตรียมตัวได้ดียิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาระหว่างและหลังการประมูล

หลักฐานที่ต้องใช้เข้าร่วมประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าการประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดีมีกฎระเบียบและข้อบังคับอะไรบ้าง และเมื่อถึงเวลาที่คุณตัดสินใจเข้าร่วมการประมูลทรัพย์สินกับกรมบังคับคดี ต่อมาคือการเตรียมหลักฐานสำคัญ ได้แก่

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
  • กรณีนิติบุคคล ต้องมีหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 1 เดือน
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีให้ผู้อื่นเข้าประมูลแทน) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท
  • เงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย “สำนักงานบังคับคดี” เพื่อวางเป็นหลักประกัน โดยจำนวนเงินขึ้นอยู่กับราคาประเมินของทรัพย์สิน เช่น

ราคาประเมินไม่เกิน 500,000 บาท วางหลักประกัน 5% ของราคาประเมิน
ราคาประเมิน 500,000 – 1,000,000 บาท วางหลักประกัน 50,000 บาท
ราคาประเมิน 1,000,000 – 5,000,000 บาท วางหลักประกัน 250,000 บาท
ราคาประเมินสูงกว่า 5,000,000 บาท วางหลักประกันตามที่กำหนดเพิ่มเติม

โดยยกเว้นผู้เข้าร่วมประมูลเป็นผู้มีสิทธิ์ขอหักส่วนได้ใช้แทน เช่น เจ้าหนี้ตามคำสั่งศาล ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับลูกหนี้ตามคำพิพากษา คู่สมรสของลูกหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วที่ไม่ต้องวางหลักประกัน แต่หากทำการซื้อแล้วจะต้องวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คจำนวน 5% ของราคาเริ่มต้น

ขั้นตอนการซื้อทรัพย์สินที่ขายทอดตลาด

เมื่อได้ทำความรู้จักการขายทอดตลาดคืออะไรกันไปแล้ว รวมทั้งกฎระเบียบ ข้อบังคับก่อนเข้าประมูลทรัพย์สิน กรมบังคับคดี รวมทั้งการเตรียมหลักฐานต่าง ๆ คงถึงช่วงเวลาที่พร้อมแล้วสำหรับการเข้าร่วมประมูล มาดูกันว่าการซื้อทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1. กรอกรายละเอียดพร้อมวางเงินสด

ขั้นตอนแรกคือการลงทะเบียนและกรอกรายละเอียดตามแบบฟอร์มของกรมบังคับคดี ซึ่งจะรวมถึงข้อมูลส่วนตัว และรายละเอียดของทรัพย์สินที่คุณให้ความสนใจประมูล จากนั้นคุณจะต้องวางเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คเป็นหลักประกันต่อเจ้าหน้าที่การเงิน เมื่อลงทะเบียนและวางเงินหลักประกันเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับป้ายประมูลและหมายเลขลำดับจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะใช้ในการเสนอราคาระหว่างการประมูล

2. รับป้ายประมูล

หลังจากได้รับป้ายประมูล คุณจะต้องเข้ามานั่งในบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้เข้าร่วมประมูล ในช่วงนี้เจ้าหน้าที่จะอธิบายเงื่อนไขการประมูลโดยย่อ รวมถึงแจ้งราคาเริ่มต้น วิธีการเสนอราคา และกฎระเบียบอื่น ๆ ที่สำคัญ

เมื่อการประมูลเริ่มขึ้น คณะกรรมการจะประกาศราคาเริ่มต้นของทรัพย์สิน จากนั้นผู้เข้าร่วมประมูลสามารถยกป้ายเพื่อเสนอราคาเมื่อต้องการซื้อทรัพย์สิน หากมีการแข่งขัน คุณสามารถเสนอราคาเพิ่มได้จนกว่าจะได้ผู้เสนอราคาสูงสุด โดยการประมูลจะมีการกำหนดราคาขั้นต่ำที่สามารถเพิ่มได้ในแต่ละครั้ง เพื่อให้การประมูลดำเนินไปอย่างมีระเบียบ

3. ชำระส่วนที่เหลือ

เมื่อชนะการประมูลแล้ว คุณจะต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายใน 15 วัน นับจากวันที่ประมูล โดยสามารถชำระเป็นเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คก็ได้ หากไม่สามารถชำระได้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องขอขยายเวลาได้ไม่เกิน 3 เดือน และไม่สามารถขยายเวลาการชำระเงินได้อีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดี เมื่อคุณชำระเงินครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่จะมอบเอกสารสำคัญสำหรับการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คุณ โดยที่สามารถนำไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดินได้ต่อไป

สรุปบทความการขายทอดตลาดคืออะไร

สุดท้ายนี้ การขายทอดตลาดคือ โอกาสอันดีงามสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อทรัพย์สิน โดยเฉพาะบ้าน ในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงและความท้าทายที่ผู้ซื้อต้องทำการพิจารณาอย่างรอบคอบ การเตรียมตัวที่ดีทั้งในด้านความรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบ การเตรียมหลักฐาน และการทำความเข้าใจขั้นตอนการประมูล จะช่วยเพิ่มโอกาสในการประมูลทรัพย์สินได้อย่างประสบความสำเร็จ

สำหรับใครที่กำลังต้องการขอสินเชื่อบ้าน ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีสินเชื่อที่หลากหลาย เพื่อออกแบบมาให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของทุกคน พร้อมเปิดกว้างให้กับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยหลากหลายกลุ่ม

หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

หรือสามารถติดต่อได้ที่ ธฮส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และ G H Bank Call Center : 0-2645-9000

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

แนะนำ 7 วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยช่วงหยุดหลายวัน ทั้งการรักษาความปลอดภัย การจัดการไฟฟ้า และการฝากบ้าน เที่ยวอุ่นใจ บ้านปลอดภัย ไร้ความกังวล
เรื่องฮวงจุ้ยคอนโดเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม บทความนี้จะแนะนำเทคนิคการเลือกฮวงจุ้ยคอนโดที่ดี พร้อมวิธีปรับให้อยู่แล้วรวย รับทรัพย์ และเรียกโชคลาภ
แนะนำ 6 ทำเลบ้านมือสองน่าลงทุน พร้อมวิธีซื้อบ้านมือสอง ธอส. ทั้งการซื้อผ่านเคาน์เตอร์ การประมูล และช่องทางออนไลน์ ปี 2567

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน