วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน (ที่นำไปใช้ได้จริง)

/
/
วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน (ที่นำไปใช้ได้จริง)

การเก็บเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านต้องอาศัยความมุ่งมั่น การรู้วิธีและขั้นตอนการเก็บเงินที่ดีก็เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางที่ถูกต้อง

การสร้างบ้านหนึ่งหลัง หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แม้ทุกวันนี้จะมีสินเชื่อบ้านมากมายให้กู้ แต่การหวังพึ่งเพียงน้ำบ่อหน้า อาจไม่เพียงพอ เพราะการจะซื้อบ้านยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากราคาของบ้าน อีกทั้ง ยังมีปัจจัยบางปัจจัยที่อาจทำให้คุณไม่สามารถขอวงเงินผ่อนและดาวน์บ้านได้เต็มจำนวน ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ในวันนี้ก็คือการเตรียมตัวเก็บเงินให้พร้อม ไม่ใช่เฉพาะแค่ส่วนต่างและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย แต่ยังเผื่อสำหรับเรื่องที่ไม่คาดคิดในอนาคตซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถมีบ้านได้อย่างที่ตั้งใจ

การเก็บเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านต้องอาศัยความมุ่งมั่น แน่วแน่ ซึ่งเส้นทางที่จะเดินต่อไปนั้น อาจยาวไกลจนอาจทำให้คุณท้อก่อนถึงจุดหมายได้ การรู้วิธีและขั้นตอนการเก็บเงินที่ดีก็เปรียบเสมือนแผนที่บอกเส้นทางที่ถูกต้อง และคุณยังสามารถติดตามได้ว่าจุดที่ยืนอยู่นั้น เข้าใกล้บ้านที่เป็นจริงเท่าไรแล้ว

ในบทความชิ้นได้ได้รวบรวมขั้นตอนการเก็บเงินซื้อบ้านที่นำไปใช้ได้จริงที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำตามได้ 5 ขั้นตอนต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมายเก็บเงินซื้อบ้านก้อนแรก

เพื่อให้ความฝันการมีบ้านของคุณเป็นจริงได้ อาจไม่ได้หมายถึงการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านเต็มจำนวนเงิน เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ระยะทางความฝันของคุณคงยาวไกลถึง 10-20 ปี วิถีที่ย่นระยะเวลาเพื่อจะมีบ้านได้นั้นก็คือสินเชื่อบ้าน ดังนั้น เป้าหมายการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านจึงอาจไม่ใช่การเก็บเงินเต็มจำนวนเพื่อซื้อบ้านเป็นล้านบาท แต่เป็นการเก็บเงินส่วนที่จำเป็นสำหรับการผ่อนบ้าน ซึ่งสิ่งที่ใช้กำหนดเป็นเป้าหมายก็คือ จำนวนเงินก้อนแรกสำหรับดาวน์บ้าน

เนื่องจากธนาคารโดยทั่วไปจะให้วงเงินในการกู้สินเชื่อประมาณ 80-95% หรือธนาคารบางแห่งและสินเชื่อบางโครงการก็อาจให้ได้ถึง 100% ของราคาประเมินบ้านหลังหนึ่ง (ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติขอกู้และเงื่อนไขการให้สินเชื่อของแต่ละธนาคาร) ทำให้เงินส่วน 5-15% เป็นส่วนที่คุณต้องออกเองก่อนเพื่อที่จะดาวน์บ้าน นอกจากนี้ ยังมีค่าธรรมเนียมต่างๆ ได้แก่ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ค่าจดจำนอง 1% และอื่นๆ อีกราว 2% ของราคาบ้าน ทำให้เมื่อรวมกันแล้วจำนวนเงินก้อนแรกที่ต้องมีสำหรับดาวน์บ้านก็คือ 5-20% ของราคาบ้าน

ยกตัวอย่างเช่น

นาย ก ต้องการซื้อบ้าน ราคา 2,000,000 บาท

นาย ก ต้องมีเงิน 20% ของราคาบ้าน ได้ 2,000,000 x 20% = 400,000 บาท

จะเห็นได้ว่า การกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนเงินก้อนแรกที่จำเป็นจริงๆ ทำให้เป้าหมายไม่ห่างไกลเกินไป ทำให้มีกำลังใจในการเก็บออมมากขึ้น เพราะสามารถเป็นไปได้มากกว่า ในกรณีของ นาย ก หากต้องการเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านในราคานี้ 3 ปี นาย ก ก็จะต้องเก็บเงินเดือนละ 400,000 บาท / (12 เดือน x 3 ปี) = 11,111 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สามารถทำได้มากกว่าการตั้งเป้าหมายเป็นราคาเต็มของบ้าน

2. สำรวจรายจ่ายและวางแผนการเงิน

หลายคนอาจคุ้นเคยว่า การจดบัญชีรายรับรายจ่ายจะช่วยให้เราสามารถทราบพฤติกรรมการใช้เงินของเราได้ และเมื่อทราบเช่นนั้นแล้ว ก็จะรู้ว่าเราใช้จ่ายไปกับเงินส่วนไหนบ้างซึ่งสามารถนำมาพิจารณาลดรายจ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป แต่ทั้งนี้ การบันทึกการใช้จ่ายในแต่ละวันก็ดูเป็นเรื่องยุ่งยาก และหลายคนก็อาจล้มเลิกไปหลายครั้งแล้ว ปัญหาจึงอาจอยู่ที่เป้าหมายการทำบัญชีที่ไม่ชัดเจน

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่เคยประสบปัญหานี้ ปัญหาอาจอยู่ที่การขาดเป้าหมาย เพราะเพียงแค่บันทึกไว้และคอยติดตามว่ารายจ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็นอาจไม่เพียงพอ สิ่งที่คุณควรทำเพิ่มคือการวางแผนทางการเงิน

การวางแผนทางการเงินนั้น ให้เริ่มต้นจากตั้งเป้าหมายว่าคุณต้องการอะไร และการติดตามรายการใช้จ่ายของคุณเองในหนึ่งเดือนก็คือข้อมูลที่คุณจะนำมาวางแผนต่อว่า คุณมีรายจ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนเท่าไร รายจ่ายเหล่านั้น คิดเป็นร้อยละเท่าไรของรายได้ต่อเดือน เป็นต้น และคุณจะเก็บเงินเพื่อซื้อบ้านกี่เปอร์เซ็น

ยกตัวอย่าง

คุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท และติดตามรายจ่ายของตนเองแล้ว มีรายจ่ายจำเป็น เช่น ค่าอาหาร เครื่องใช้ต่างๆ ค่าสิ่งของอุปโภค ค่าเดินทาง และค่าเช่าที่พัก รวมเป็นเงิน 10,000 บาท หรือ 50% ของรายได้ มีเงินเหลืออีก 10,000 บาท หรือ 50% ของรายได้ คุณอาจแบ่งใช้เพื่อความบันเทิง และแบ่งออมเป็นเงินสำหรับซื้อบ้านกี่เปอร์เซ็น ซึ่งหัวใจสำคัญคือการแบ่งใช้เงินตามเปอร์เซ็นที่ตั้งใจไว้

3. ตัดเงินเข้าบัญชีเงินออมที่ฝากเท่ากันทุกเดือน

ข้อแนะนำในการเก็บเงินให้อยู่ก็คือ การเก็บก่อนใช้ จากแผนการเงินที่คุณทราบแนวทางแล้ว คุณก็มีเป้าหมายว่าจะต้องเก็บเงินซื้อบ้านต่อเดือนจำนวนเท่าไร โดยให้ผูกบัญชีที่รับเงินเดือนหรือรายได้ของคุณเข้ากับบัญชีฝากประจำสำหรับออมเงินเพื่อกันโอกาสถอนเงิน ซึ่งคุณสามารถตั้งระยะเวลาฝากได้ เช่น 24 เดือน 36 เดือน หรือ 60 เดือน ง่ายต่อการวางแผนออมเพื่อซื้อบ้าน จากนั้นจึงตั้งระบบโอนเงินเข้าทุกเดือนโดยอัตโนมัติในตอนต้นเดือน

วิธีนี้จะทำให้คุณออมเงินได้ตามที่ต้องการ และหากเดือนใดที่คุณอยากออมมากขึ้น ก็แค่นำเงินไปฝากเพิ่มเติมเพียงเท่านั้น

ตัวอย่างการออมเงิน

หากคุณออมเงิน 7,000 บาท ต่อเดือน ในหนึ่งปีคุณก็จะมีเงิน 7,000 x 12 (เดือน) = 84,000 บาท และหากยกกรณี นาย ก ที่ต้องการซื้อบ้านราคา 2,000,000 บาท ที่ต้องเตรียมเงินก้อนแรกสำหรับดาวน์บ้าน 20% คือ 400,000 บาท ดังนั้น หากนาย ก ออมเงินเดือนละ 7,000 บาท หรือปีละ 84,000 บาท ก็จะต้องใช้เวลาราว (400,000 / 84,000) 4 ปี 7 เดือน ซึ่งการตั้งเป้าหมาย วางแผนการเงิน และตัดบัญชีอัตโนมัติจะช่วยให้การออมเงินของคุณขยับเข้าใกล้ความจริงอยู่เสมอ

นอกจากนี้ หากไม่มั่นใจว่าคุณควรสร้างเครดิตหรือความน่าเชื่อถือให้ statement อย่างไร ก็สามารถขอคำปรึกษาได้ที่นี่ หรือสาขาใกล้เคียงที่ท่านสะดวก เพื่อให้คุณมีโอกาสยื่นสินเชื่อผ่านได้ง่ายขึ้น และอาจรวมถึงวงเงินกู้ที่สูงขึ้นอีกด้วย

รูปภายในบทความ วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน

4. ลงทุนให้เงินออมเติบโต

การออมเงินธรรมดาที่หักเงินในแต่ละเดือนที่ใช้เวลาระยะหนึ่ง หากต้องการให้เงินออมในส่วนนี้เติบโตเข้าใกล้บ้านที่เป็นจริงมากขึ้น หนึ่งในวิธีนั้นก็คือการลงทุน

การลงทุนมีหลากหลายรูปแบบทั้งกองทุนรวม ตราสารหนี้ ซื้อพันธบัตร หุ้น กองทุนรวมหุ้น หรือสลากออมทรัพย์ ฯลฯ คุณก็สามารถเลือกประเภทการลงทุนที่เหมาะสมกับคุณได้ ยกตัวอย่างเช่น กองทุนรวมที่มีผู้เชี่ยวชาญดูแลพอร์ตให้ อาจได้กำไรเฉลี่ยปีละ 5-10% ที่มากกว่าผลตอบแทนฝากเงินประจำ (0.5-2%) หรือการซื้อสลากออมทรัพย์ระยะเวลา 3 – 5 ปี ก็เป็นการเก็บเงินที่มั่นคงและมีลุ้นได้ผลตอบแทนแบบสลากกินแบ่งอีกด้วย ทั้งนี้ การลงทุนไม่ว่าจะประเภทใดก็มีความเสี่ยง ยิ่งผลตอบแทนสูงก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

นอกจากผลตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนซึ่งสามารถนำมาออมเป็นเงินก้อนที่ใหญ่มากขึ้นแล้ว ยังมีกองทุนบางประเภท เช่น RMF และ LTF ที่ช่วยให้คุณนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกถึง 15% ของรายได้ (แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท) ทำให้คุณลดค่าใช้จ่ายลงได้อีกต่อหนึ่งด้วย

5. หารายได้ทางอื่น

อีกทางที่อาจเป็นวิธีเก็บเงินเพิ่มเติมให้คุณมีเงินก้อนสำหรับซื้อบ้านที่ใหญ่ขึ้นก็คือการหารายได้เสริม คุณอาจเปลี่ยนความชอบ ความสามารถ หรืองานอดิเรกของตนเองเป็นอาชีพเสริม เช่น เขียนบทความ วาดรูป ถ่ายรูป หรือตกแต่งภาพ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ เมื่อจะเลือกทำงานเสริมก็ต้องระวังไม่ให้กระทบกระเทือนงานหลัก เพราะหากกระทบกระเทือนแล้ว ผลสุดท้ายอาจไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาความคุ้มค่าของต้นทุนที่เป็นเวลาหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร หรือค่าดูแลตัวเองเพิ่มเติมเพื่อให้คุณสามารถทำงานได้มากขึ้น

สรุป

อยากซื้อบ้านในฝัน แม้จะเป็นเรื่องใหญ่เพราะมีอะไรต้องคิด และต้องวางแผนอยู่พอสมควร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป สิ่งเล็กๆ อย่างการเก็บเงินเปรียบเสมือนก้าวแรกในการออกเดินทาง ด้วยขั้นตอนการเก็บเงินที่รวบรวมมาในบทความนี้ น่าจะเป็นแผนที่ที่ช่วยให้คุณเก็บเงินซื้อบ้านได้อย่างใจ

หากคุณไม่อยากพลาดโอกาสความคุ้มค่าในการซื้อบ้าน และขอสินเชื่อเพื่อบ้านกับ ธอส. สามารถกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

หรือ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ www.ghbank.co.th 

ติดต่อ G H BANK Call Center : 02 645 9000

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บริการของเรา

สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน