5 ข้อควรระวังป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ [รู้ไว้ ไม่หลงกล]

/
/
5 ข้อควรระวังป้องกันมิจฉาชีพออนไลน์ [รู้ไว้ ไม่หลงกล]

ในบทความนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต้องการเชิญชวนทุกคนมารู้จักกับ 5 ข้อควรระวังมิจฉาชีพออนไลน์ที่เราอาจพบเจอบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเป็นเหยื่อ

ในสังคมปัจจุบันเราไม่ได้เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม ขโมย ผู้ร้ายและมิจฉาชีพเฉพาะในที่สาธารณะหรือแหล่งเสื่อมโทรมเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าเราจะนั่งสบายๆ ผ่อนคลายอยู่ที่บ้าน ก็ยังสามารถพบกับ “มิจฉาชีพออนไลน์” ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ นั่นหมายความว่าทุกครั้งที่เราเข้าสู่โลกออนไลน์ ทุกคนก็มีโอกาสพบกับการหลอกลวงที่ไม่คาดคิดได้เสมอ

ในบทความนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ต้องการเชิญชวนทุกคนมารู้จักกับ 5 ข้อควรระวังมิจฉาชีพออนไลน์ที่เราอาจพบเจอบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณกลายเป็นเหยื่อของการหลอกลวง

5 แนวทางที่มิจฉาชีพออนไลน์ใช้บ่อย

1. ส่ง SMS ปลอม

ส่ง SMS ปลอม

“มิจฉาชีพออนไลน์” มักใช้ชื่อบริษัทหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือและเป็นที่รู้จักส่ง SMS มาให้กับคุณ 

เช่น หน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงิน ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้มักเสนอข้อเสนอพิเศษให้ผู้ถือหมายเลขรับสิทธิ์เปรียบเสมือนเหยื่อที่ใช้ล่อให้คุณมาติดกับนั่นเอง

ข้อเสนอเหล่านี้มีรูปแบบมากมายไม่ว่าจะมาในแนวทางของ ของขวัญหรือสิ่งที่มีค่าสมนาคุณ โดยจะส่งเป็น SMS เพื่อพยายามล่อให้คุณคลิกลิงก์เพื่อรับสิทธิ์นั้นๆ 

ตัวอย่างเช่น 

  • ธนาคาร A เสนอสิทธิ์การกู้เงินจำนวน 500,000 บาทผ่านลิงก์
  • สายการบิน B เสนอการจองตั๋วเครื่องบินผ่านลิงก์เพื่อรับตั๋วฟรี
  • โครงการวินัยดีมีเงิน โปรโมชั่นรับเงินสด 500 บาทเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 จากธนาคาร C

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับ SMS ปลอม

  • ติดต่อสอบถามจากบริษัท องค์กร หรือหน่วยงาน ต้นทางเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ SMS ที่ได้รับ
  • กด block and report spam เพื่อป้องกันข้อความอื่นจากเบอร์โทรศัพนั้น
  • ไม่jคลิกลิงก์ที่แนบมากับ SMS ปลอม

2. สร้าง Facebook ปลอมมาหลอกคุณ

Facebook ปลอมนั้นที่จริงแล้วสามารถตรวจสอบได้ไม่ยากเลย สามารถสังเกตได้โดยการเช็ค Verified badge ที่เป็นรูปเครื่องหมายถูกในวงกลมสีฟ้าที่อยู่หลังชื่อเพจ ถ้าเป็น Facebook จริงจะมี Verified badge ในขณะที่ Facebook ปลอมอาจใช้ชื่อ โลโก้ รูปภาพ หรือใช้ภาษาที่คล้ายกันกับ Facebook จริง แต่จะไม่มี Verified badge เหล่านี้

สร้าง Facebook ปลอมมาหลอกคุณ

นอกจากความเสี่ยงจาก Facebook ปลอมที่ลอกเลียนแบบเพจของบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความเป็นไปได้ที่จะถูกขโมยอัตลักษณ์โดยมิจฉาชีพออนไลน์ ซึ่งอาจบันทึกรูปภาพของเราแล้วนำไปเปิด Facebook ปลอมเพื่อหลอกลวงเพื่อเอาเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นได้ 

ดังนั้น ควรระมัดระวังและระวังตัวในการตอบรับคำขอเป็นเพื่อนจากบุคคลที่ไม่รู้จัก และจำกัดการโพสต์รูปภาพให้เฉพาะบัญชีของผู้ที่เป็นเพื่อนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงได้

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อเจอ Facebook ปลอม:

  • ไม่กดไลค์หรือติดตาม เพื่อป้องกันความสับสนจากข้อมูลที่ Facebook ปลอมนำเสนอ
  • รายงานความผิดปกติให้กับทาง Facebookช

3. ปลอม LINE มาชวนคุย

LINE ปลอมนั้นค่อนข้างระบาดหนักและมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้เงินกู้ บางครั้งจะแสดงตัวชัดเจนว่าเป็นผู้ให้เงินกู้ แต่บางครั้งก็จะแฝงตัวมาในรูปของร้านค้าต่างๆ รวมถึงแอบอ้างว่าเป็นบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานที่รู้จักด้วย

อย่างไรก็ตาม การสังเกต LINE ปลอมนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย เนื่องจากบัญชี LINE Official account จะแสดงสถานะของบัญชีเป็นรูปโลโก้สีเขียวสำหรับธุรกิจหรือองค์กรขนาดใหญ่ หรือสถานะเป็นรูปโลโก้สีน้ำเงินสำหรับบัญชีที่ได้รับการรับรองแล้ว

ปลอม LINE มาชวนคุย

ในขณะที่บัญชี LINE ที่มีความเสี่ยงว่าเป็นบัญชีปลอมอาจแสดงรูปโลโก้สีเทาหรือไม่แสดงสัญลักษณ์ใดเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เชื่อถือได้ รวมไปถึงร้านค้าเล็กๆ หลายแห่งอาจไม่ได้ขอรับรอง LINE Official account และไม่แสดงสถานะเป็นรูปโลโก้สีเทา

นอกจากนั้น LINE Official account ที่แท้จริงของบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ จะไม่ขอเพิ่มเพื่อน (add friend) ก่อนเด็ดขาด และส่วนใหญ่จะใช้ระบบข้อความอัตโนมัติเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ลูกค้าต้องการมากกว่าการพูดคุยกับลูกค้าโดยตรง ส่วน LINE ปลอมจะพูดคุยกับลูกค้าห้วนๆ และมักใช้สะกดคำผิดเป็นประจำ

เมื่อพบ LINE ปลอมควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้:

  • อย่าคลิกเพิ่มเพื่อน (add friend) เด็ดขาด เพื่อป้องกันการเข้าสู่ระบบของ LINE ปลอมเข้าสู่บัญชีของคุณ
  • บล็อก LINE ปลอมทันที เพื่อป้องกันการรับข้อความหรือการติดต่อจากผู้ใช้งาน LINE ปลอม
  • รายงาน (Report) LINE ปลอมให้กับ LINE เพื่อให้พวกเขาทราบถึงการละเมิดและดำเนินการตามนโยบายของพื้นที่ LINE

4. ปลอม Email ส่งมาหาคุณ

อีเมล์ที่ถูกส่งเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว เช่น รหัสผ่าน, หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, เลขบัญชี และข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เรียกว่า Phishing Email หรืออีเมล์ปลอม ชักจูงคนเข้าสู่การล่อลวง 

ผู้ส่งอีเมลปลอมจะพยายามเจาะจงให้เหยื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือการถูกโจมตีทางอินเทอร์เน็ตหรือมีวิธีที่ค่อนข้างคล้ายกับการช่อโกงในรูปแบบ SMS คือล่อให้คุณคลิงก์ภายในอีเมลแทนนั่นเอง

อีเมล์ปลอมเหล่านี้มักใช้ชื่อบัญชีอีเมล์ที่ไม่ตรงกับชื่อบริษัท, องค์กร, หรือหน่วยงานที่แอบอ้างว่าเป็นตัวแทน นอกจากนี้ ข้อความในอีเมล์ปลอมมักเขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยที่มีการสะกดผิดหรือดูผิดปกติ ซึ่งต่างจากอีเมล์ทางการที่มาจากสถาบันต่างๆ

เมื่อได้รับอีเมล์ปลอม ควรปฏิบัติดังนี้:

  • อย่าคลิกลิงก์ที่แนบมากับอีเมล์ปลอม เพราะอาจนำไปสู่เว็บไซต์ที่อันตรายหรือมีภัยคุกคาม
  • อย่าดาวน์โหลดหรือเปิดรูปภาพ, ไฟล์, หรือเอกสารที่แนบมากับอีเมล์ปลอม เพราะอาจมีไวรัสหรือมัลแวร์ที่ส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลส่วนตัว
  • อย่าตอบกลับอีเมล์ปลอม เพราะส่วนใหญ่เป็นการยืนยันว่าอีเมล์ของคุณมีอยู่และเปิดอ่านโดยผู้ไม่ประสงค์ดี
  • ลบอีเมล์ดังกล่าวทิ้งทันทีเพื่อป้องกันการเปิดอ่านอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์อีกครั้ง

การปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้คุณป้องกันตัวเองจากการหลอกลวงและการขโมยข้อมูลส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นจากอีเมล์ปลอม

5. สร้างเว็บไซต์ปลอมให้ดูน่าเชื่อถือ

ชื่อ URL อาจะจะถูกเปลี่ยนเล็กน้อยเพื่อทำให้แตกต่างจากเว็บไซต์ทางการของบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานนั้นๆ หากไม่สังเกตอย่างละเอียด อาจเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์จริงได้ เช่น www.moqh.in.th เป็นเว็บไซต์ปลอมที่แอบอ้างชื่อกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่เว็บไซต์จริงใช้ URL www.moph.go.th

อย่างไรก็ตาม URL ของเว็บไซต์ปลอมอาจไม่มีความคล้ายคลึงกับเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานที่ถูกแอบอ้าง โดยสิ้นเชิง เช่น การแอบอ้างชื่อกระทรวงการคลังโดยใช้ URL https://acwc9.com ซึ่งแตกต่างจากเว็บไซต์จริงของกระทรวงการคลัง

มิจฉาชีพออนไลน์อาจส่ง URL ของเว็บไซต์ปลอมผ่านทาง SMS, LINE, หน้าเพจโซเชียลมีเดีย รวมถึงหน้าค้นหาของ Google เพื่อสร้างความสับสนและกดดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่เหมาะสมหรือชำระค่าบริการที่สูงกว่าความเป็นจริง

สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อได้รับลิงก์เว็บไซต์ปลอม:

  • ห้ามคลิกเข้าสู่เว็บไซต์โดยเด็ดขาด และสามารถนำ URL ของเว็บไซต์ต้องสงสัยไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ https://www.whois.com/whois ซึ่งจะระบุประเทศที่จดทะเบียนเว็บไซต์นั้น ๆ โดยเว็บไซต์ที่จดทะเบียนต่างประเทศถือว่ามีความเสี่ยงสูง
  • หากเผลอคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ไปแล้ว ห้ามคลิกปุ่มหรือ URL อื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์โดยเด็ดขาด ให้คลิกปิดเว็บไซต์ทันที
  • ติดต่อกับบริษัท องค์กร หรือหน่วยงานเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้น ๆ

สรุปท้ายบทความ

มิจฉาชีพออนไลน์เป็นปัญหาที่ควรระวังเนื่องจากการเติบโตของเทคโนโลยีและการใช้อินเทอร์เน็ตที่แพร่หลาย การหลอกลวงและการโกงผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เกิดขึ้นบ่อยมากในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เราสูญเสียข้อมูลส่วนตัว ทรัพย์สิน หรือเงินทองทรัพย์ 

ดังนั้น เราควรระวังและปฏิบัติตามข้อควรระวังที่เกี่ยวกับมิจฉาชีพออนไลน์เพื่อปกป้องความปลอดภัยและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านี้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

รวมทุกวิธีรีไฟแนนซ์บ้าน ดอกเบี้ยต่ำจาก ธอส. พร้อม 5 สินเชื่อบ้านดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้น 1.79% ผ่อนเบาสบายเพียง 3,000 บาท/เดือน
รวมข้อมูลสำคัญที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ ซื้อคอนโดดีไหม หรือซื้อบ้านดีไหม พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียแบบละเอียด เพื่อให้เลือกได้ตรงใจ
รวมโครงการบ้าน 2568 และคอนโดใหม่ 2568 ทำเลศักยภาพ น่าลงทุน พร้อมรายละเอียดโครงการและราคาเริ่มต้น ครบจบในที่เดียว

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน