กู้เงินลงทุนอสังหาฯ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

/
/
กู้เงินลงทุนอสังหาฯ ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

การกู้เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ควรเริ่มต้นอย่างไร ในบทความนี้ได้สรุปวิธีการขอกู้สินเชื่อเพื่อการลงทุนในอสังหาฯ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะการลงทุนประเภทนี้คือการลงทุนกับปัจจัยสี่ มีความต้องการในตลาดอยู่เสมอ มีโอกาสเติบโตเรื่อยๆ และค่อนข้างมั่นคง แต่เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์คือสินทรัพย์มูลค่าสูง หลายคนจึงคิดว่าการลงทุนประเภทนี้ต้องเป็นเรื่องยากและต้องมีเงินทุนสูงจึงสามารถทำได้ แม้ปัจจุบันจะสามารถกู้เงินลงทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ ก็ยังอาจรู้สึกว่ามีรายละเอียดมากมายและยุ่งยากอยู่ดี

แท้จริงแล้ว การกู้เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้มีความยาก-ง่ายแตกต่างจากการกู้สินเชื่อบ้านทั่วไป เพราะก็เป็นสินทรัพย์ประเภทเดียวกัน ขั้นตอนต่างๆ ก็ไม่ได้ซับซ้อนมาก ซึ่งในบทความชิ้นนี้ได้สรุปวิธีการขอกู้สินเชื่อเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 5 ขั้นตอน ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้

ขั้นตอนการกู้เงินลงทุนอสังหาริมทรัพย์

ขั้นตอนการกู้สินเชื่อบ้านเพื่อลงทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการยื่นกู้สินเชื่อบ้าน กระนั้นก็ตาม เนื่องจากวัตถุประสงค์ที่ต่างกันออกไป จึงมีบางขั้นตอนและรายละเอียดด้านเอกสารเล็กน้อยที่ต้องทำความเข้าใจ

1. ตรวจสอบว่าต้องการกู้สินเชื่อแบบใด

เมื่อจะลงทุนอสังหาริมทรัพย์แล้วต้องการกู้สินเชื่อ คุณต้องทราบก่อนว่าคุณต้องการสินเชื่อประเภทใด โดยดูจากการลงทุนของคุณ เช่น ซื้อบ้าน-คอนโดเพื่อเก็งกำไร ซื้อคอนโดหรือซื้อ/สร้างบ้านเพื่อปล่อยเช่า ซื้อบ้านมือสองมาปรับปรุงและขายหรือปล่อยเช่า ซึ่งอาจสามารถขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแบบทั่วไปได้

หรือถ้าหากเป็นนักลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ ก็สามารถขอสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะได้ ที่มีเงื่อนไขเหมาะกับการทำธุรกิจมากกว่า แต่รายละเอียดก็จะแตกต่างจากสินเชื่อบ้านทั่วไป เช่น คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ไม่ต้องยื่นหลักฐานการเงินบางประเภท เป็นต้น

นอกจากนี้ หากคุณเป็นเจ้าของกิจการ SMEs ที่ต้องการสร้างบ้านหรือร้านค้าที่เป็นที่อยู่อาศัยด้วยก็อาจเลือกดูสินเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะที่อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายของคุณลงได้ ตอบโจทย์และครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการลงทุนได้มากกว่า

2. เตรียมเอกสารการกู้สินเชื่อสำหรับแต่ละประเภท

การขอกู้สินเชื่อบ้านทั่วไปกับการขอกู้สินเชื่อเพื่อลงทุนอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้แตกต่างกันเพราะวัตถุประสงค์ในการลงทุนมากนัก แต่แตกต่างกันเพราะวัตถุประสงค์ในการใช้เงินมากกว่า โดยการขอสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์มีเอกสารทั่วไปที่ต้องเตรียม ได้แก่

  • เอกสารส่วนตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน  ทะเบียนสมรส ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) เป็นต้น
  • เอกสารการเงิน เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานการชำระภาษี บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน และหนังสือรับรองใบประกอบวิชาชีพ เป็นต้น
  • เอกสารกรณีที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ ใบจดทะเบียนบริษัท ใบจดทะเบียนการค้า สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิที่ระบุวัตถุประสงค์การกู้เงิน ค้ำประกันเงินกู้ และให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หนังสือรับรองบริษัทฯ จากกระทรวงพาณิชย์ และรายงานในการประชุมผู้ถือหุ้น (ที่ระบุขอกู้เงินจากธนาคาร)
  • เอกสารหลักประกันต่างๆ เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย, โฉนดที่ดิน, แปลนที่ดิน

*หากมีผู้กู้ร่วม ผู้กู้ร่วมต้องมายื่นคำขอกู้พร้อมเอกสารส่วนตัวข้างต้นและหลักฐานแสดงรายได้เช่นกัน

นอกจากนี้ โครงการแต่ละโครงการสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ก็มีหลักฐานที่ธนาคารต้องการเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง

สินเชื่อแฟลต อพาร์ทเม้นท์ และสินเชื่อบ้านเช่า

  • โฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า
  • ใบอนุญาตก่อสร้าง
  • แบบแปลนอาคาร(ชุดที่ได้รับอนุญาต)
  • กู้ปลูกสร้าง = ใบเสนอราคา หรือสัญญารับเหมาก่อสร้าง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับเหมา
  • กู้ไถ่ถอน = สัญญากู้เงิน / สัญญาจำนอง ทุกฉบับ / รายการผ่อนชำระหนี้กับสถาบันการเงินเดิมย้อนหลัง 24 เดือน / รายรับ – รายจ่ายของโครงการ  ย้อนหลัง 3 เดือนพร้อมตัวอย่างสัญญาเช่า / เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์อาคาร
  • กู้ซื้อ = สัญญาจะซื้อจะขาย พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้ขาย / รายรับ-รายจ่ายของโครงการ ย้อนหลัง 3 เดือน / เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์อาคาร

สินเชื่อบ้านมือสอง

  • เอกสารส่วนตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน /ทะเบียนบ้าน / ทะเบียนสมรส /ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) เป็นต้น
  • รายการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 20 รายการ
  • โฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า
  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย
  • กรณีซื้อทรัพย์ NPL แสดงหลักฐานเพิ่มเติม ได้แก่ สำเนาประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี

สินเชื่อประเภทพัฒนาโครงการ

  • สำเนาโฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า
  • แบบพิมพ์เขียวของอาคารที่ใช้ก่อสร้าง (ฉบับจริงชุดประทับตราฯ) 1 ชุด
  • แผนการดำเนินการทั้งโครงการ แผนการขาย แผนการก่อสร้าง ประมาณการด้านการเงิน Financial Feasibility
  • สัญญาจ้างรับเหมาก่อสร้าง / หนังสือเสนอราคาค่ารับเหมาก่อสร้าง
  • หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินของผู้ขอกู้ / เงินสมทบ
  • ใบขออนุญาตปลูกสร้างฯ
  • ใบขออนุญาตจัดสรร / ใบยื่นคำขออนุญาตจัดสรร

3. ติดต่อธนาคารและแสดงความจำนงขอกู้สินเชื่อ

ขั้นตอนนี้เหมือนกับการขอกู้สินเชื่อทั่วไปก็คือ เพื่อแสดงความจำนงขอสินเชื่อกับธนาคารและเลือกโครงการสินเชื่อที่ต้องการ ทั้งนี้ คุณจะต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นกู้ให้ครบถ้วน ตามที่ธนาคารกำหนด  ทั้งนี้ ในการยื่นกู้ก็มีค่าประเมินและวิเคราะห์โครงการ

รูปภายในบทความ ลงทุนอสังหา

4. ธนาคารพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

เมื่อยื่นความจำนงจะกู้สินเชื่อเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อมาคือการดำเนินงานพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ได้แก่ ประเมินจากเอกสารของผู้ขอกู้ว่ามีความน่าเชื่อถือและมีความสามารถในการผ่อนชำระเพียงใด ประเมินมูลค่าหลักประกัน และประเมินราคาสินทรัพย์เพื่อนำมาคิดเป็นวงเงินที่จะให้กู้ นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินเพื่อไปก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซม จะมีการประเมินความคืบหน้าหรือตรวจสอบผลงานการก่อสร้างด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ การยื่นกู้ขอสินเชื่อมีค่าธรรมเนียมที่คิดแตกต่างตามแต่ละโครงการ และการประเมินหลักประกัน ประเมินสินทรัพย์ และตรวจสอบความก้าวหน้าฯ ล้วนมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

5. ทำสัญญากู้เงินและจดจำนองหลักทรัพย์

เมื่อธนาคารอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้คุณแล้ว ต่อมาคุณจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำสัญญากู้เงิน พร้อมทั้งจดจำนองที่ดินกับสำนักงานที่ดิน

เมื่อทำตามมาถึงขั้นตอนที่ 5 ธนาคารก็จะปล่อยเงินกู้ให้คุณ โดยการโอนเงินเข้าบัญชี และถ้าหากคุณกู้สินเชื่อเพื่อก่อสร้าง ต่อเติม ซ่อมแซม ธนาคารจะจ่ายเงินกู้ให้เป็นงวดๆ ตามความคืบหน้าของผลงานก่อสร้าง

ข้อดีของการกู้เงินลงทุนอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนที่นิยมใช้เทคนิค Other People’s Money (OPM) หรือการนำเงินผู้อื่นมาใช้ลงทุนก่อน ซึ่งก็คือการกู้สินเชื่อ ทำให้ผู้ลงทุนใช้ทุนน้อย แต่สามารถสร้างผลกำไรได้ทันที นอกจากนี้ การขอกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์สามารถนำยอดชำระดอกเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้อีกสูงสุด 100,000 บาท รวมทั้ง หากได้วงเงินเกินจำนวนที่ต้องใช้จ่ายจริง ก็จะเหลือเงินสำหรับการบริหารหรือใช้จ่ายอื่นๆ ได้อีกด้วย

สรุป

ขอกู้สินเชื่อเพื่อลงทุนอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่เรื่องยาก และสำหรับคนที่คิดว่าขั้นตอนการขอกู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์จะซับซ้อน ขั้นตอนที่สรุปออกมา 5 ขั้นตอนในบทความชิ้นนี้ น่าจะช่วยให้คุณได้แนวทางที่ไม่ซับซ้อนหรือยากเกินไปที่ใครๆ ก็สามารถทำตามได้

สำหรับธนาคารอาคารสงเคราะห์ธนาคารเพื่อการมีบ้านครบวงจรก็มีโครงการสินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เช่น สินเชื่อบ้านเช่า สินเชื่อบ้านมือสอง สินเชื่อพัฒนาโครงการ เป็นต้น ที่ออกแบบมาเพื่อผู้ประกอบการและนักลงทุนโดยเฉพาะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

แนะนำ 7 วิธีดูแลบ้านให้ปลอดภัยช่วงหยุดหลายวัน ทั้งการรักษาความปลอดภัย การจัดการไฟฟ้า และการฝากบ้าน เที่ยวอุ่นใจ บ้านปลอดภัย ไร้ความกังวล
เรื่องฮวงจุ้ยคอนโดเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม บทความนี้จะแนะนำเทคนิคการเลือกฮวงจุ้ยคอนโดที่ดี พร้อมวิธีปรับให้อยู่แล้วรวย รับทรัพย์ และเรียกโชคลาภ
แนะนำ 6 ทำเลบ้านมือสองน่าลงทุน พร้อมวิธีซื้อบ้านมือสอง ธอส. ทั้งการซื้อผ่านเคาน์เตอร์ การประมูล และช่องทางออนไลน์ ปี 2567

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน