รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง [ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?]

/
/
รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง [ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?]

การคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนซื้อบ้านมือสอง เป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อบ้านมือสองไว้ครบถ้วนแล้ว

การคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนซื้อบ้านมือสอง เป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อบ้านมือสองไว้ครบถ้วนแล้ว

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจซื้อบ้านมือสอง ในบทความนี้จะพาไปดูค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง ที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อว่ามีอะไรบ้าง? ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่?

การซื้อบ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน เพราะบ้านมือสองมักจะมีราคาที่ถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง นอกจากนั้นตัวบ้านยังได้รับการปรับปรุงแล้วก่อนขาย ทำให้บ้านมือสอง พร้อมอยู่เหมือนได้บ้านหลังใหม่ ทำให้บ้านมือสองกลายเป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่อยากมีบ้าน

นอกจากการซื้อบ้านมือสองจะต้อง คุณจะต้องเลือกบ้าน และทำเลที่ถูกใจแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง คือการคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนซื้อบ้านมือสอง ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการซื้อบ้านมือสอง เพื่อให้คุณสามารถเตรียมตัวเรื่องเงินได้พร้อม และไร้ปัญหาในอนาคต

ทำความรู้จักค่าโอนบ้านมือสอง

ค่าโอนบ้านมือสอง หรือที่เรียกว่าค่าใช้จ่ายซื้อบ้านมือสอง เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ณ สำนักงานที่ดินในวันโอนบ้าน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่ค่าธรรมเนียมโอนบ้านหรือค่าโอนกรรมสิทธิ์บ้านเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกหลายรายการ

ค่าโอนบ้านมือสองประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลายส่วน เช่น ค่าอากร ค่าภาษีเงินได้ ค่าจดจำนอง เป็นต้น ซึ่งผู้ซื้อควรศึกษาและคำนวณล่วงหน้าเพื่อเตรียมเงินให้เพียงพอ

ใครเป็นคนรับผิดชอบค่าโอนบ้าน

โดยทั่วไปแล้ว การรับผิดชอบค่าโอนบ้านมือสองจะขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่มีกฎตายตัวว่าใครต้องจ่ายส่วนใดบ้าง แต่โดยปกติแล้วมักจะแบ่งความรับผิดชอบดังนี้

  • ผู้ซื้อมักรับผิดชอบค่าจดจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการจำนอง
  • ผู้ขายมักรับผิดชอบค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ทั้งสองฝ่ายอาจตกลงแบ่งจ่ายค่าธรรมเนียมการโอน

อย่างไรก็ตาม การแบ่งความรับผิดชอบนี้สามารถเจรจาต่อรองกันได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง

รวมค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง จะต้องคำนวณค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี ซึ่งการซื้อบ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายย่อย ๆ ตามมาอีกมากมาย เพื่อเตรียมให้พร้อมสำหรับการโอนบ้านเป็นไปอย่างราบรื่น และเสร็จสมบูรณ์ในวันเดียว คุณจำเป็นที่จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ไปดูกัน

1. ค่าจองและค่ามัดจำบ้าน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสองอย่างแรกที่จะเกิดขึ้นหลังจากตัดสินใจซื้อบ้านเรียบร้อยแล้ว คือ ค่าจองและค่ามัดจำบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่คุณจะต้องนำไปให้กับผู้ขายเพื่อเป็นการรับประกันว่าเราต้องการซื้อบ้านมือสองหลังนี้จริง ๆ โดยทั่วไปแล้วในสัญญาจะซื้อจะขายนั้น จะมีการระบุจำนวนเงินในการวางมัดจำบ้าน จะอยู่ที่ประมาณ 5-20% ของราคาขาย ซึ่งผู้ที่สนใจจะจองบ้านมือสอง ต้องชำระเงินเพื่อจองสิทธิ์เอาไว้

2. ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

การขอสินเชื่อบ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบจำกัด ไม่สะดวกในการซื้อเงินสด แต่ต้องการซื้อบ้าน ซึ่งการขอสินเชื่อบ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินที่ธนาคารเรียกเก็บจากคุณ เป็นค่าดำเนินการในการประเมินมูลค่าบ้านเพื่อที่ธนาคารจะได้นำมาประเมินวงเงินสินเชื่อให้คุณ โดยจะมีค่าธรรมเนียมยื่นกู้, ค่าประเมินราคา, และค่าประกันสินเชื่อบ้าน

ค่าประเมินราคาเมื่อขอสินเชื่อ

3. ค่าเบี้ยประกันบ้านมือสอง

การซื้อบ้านมือสอง มีค่าใช้จ่ายอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญ คือค่าเบี้ยประกันบ้านมือสอง ซึ่งเป็นค่าประกันเกี่ยวกับตัวบ้านที่ทางธนาคารขอให้ทางผู้ซื้อบ้านทำ โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • ประกันบ้านภาคบังคับ ซึ่งเป็นประกันที่บังคับต้องทำตามกฎหมาย ซึ่งจะให้ความคุ้มครองด้านโครงสร้างบ้านกรณีที่เกิดไฟไหม้ หรือเป็นประกันอัคคีภัยนั่นเอง
  • ประกันบ้านภาคสมัครใจ เป็นประกันกฎหมาย หรือประกันธนาคารที่ไม่ได้บังคับให้ทำ แต่เป็นการทำประกันด้วยความสมัครใจนั่นเอง

4. ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนอง เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จ่ายทั้งในบ้านมือหนึ่ง และมือสอง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อบ้านทำการยื่นขอสินเชื่อเพื่อใช้ในการกู้เงินซื้อบ้าน ซึ่งอัตราค่าจดจำนองจะคิดในอัตรา 1% จากราคาจำนอง โดยจะเสียไม่เกิน 200,000 บาท แต่สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านด้วยเงินสดก็จะไม่เสียในส่วนนี้นั่นเอง นอกจากนั้นหากผู้ขายมีการถือครองมาเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ก็จะมีค่าอากรแสตมป์ราคา 0.50% ของราคาซื้อ-ขาย ซึ่งในส่วนนี้ควรเจรจากับผู้ขาย และควรระบุในสัญญาจะซื้อจะขายให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าโอน

แต่ในปี 2565 รัฐบาลได้มีการดำเนินโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการลดค่าจดทะเบียนจำนองจาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับกรณีซื้อที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว เป็นต้น

5. ค่าโอนกรรมสิทธิ์

ในขั้นตอนของการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสองจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจบ้านก่อนโอน โดยสามารถเลือกจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาตรวจ หรือจะตรวจด้วยตนเองก็ได้ เพื่อให้สามารถประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านก่อนที่จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ได้

หลังจากที่มีการยื่นขอสินเชื่อ ตรวจบ้าน รวมถึงชำระค่าประกันต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์ โดยการโอนกรรมสิทธิ์บ้านมือสอง ก็จะมีค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน

6. ค่าติดตั้งมิเตอร์น้ำ – ไฟ

สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านส่วนนี้ จะแตกต่างกันไปตามบ้านแต่ละประเภทโดยขึ้นอยู่กับมาตรวัด ขนาดมิเตอร์ และจำนวนกระแสน้ำ-ไฟที่ปล่อยได้ โดยตรวจสอบกับเจ้าของบ้านคนเก่า หากเจ้าของบ้านเดิมถือสิทธิ์อยู่แล้วเราก็โอนกรรมสิทธิ์ได้เลย ซึ่งต้องเตรียมเอกสารการโอนค่ามิเตอร์น้ำ – ไฟฟ้าให้พร้อมด้วย

สำหรับการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ควรเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้พร้อม โดยกรอกแบบฟอร์มคำขอโอนมิเตอร์ พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอนและผู้รับโอน และสามารถยื่นเรื่องได้ที่การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุกสาขา 

เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่จะโทรแจ้งเพื่อให้ผู้ที่ติดต่อเรื่องไปรับเอกสารระบุการเปลี่ยนชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า โดยในส่วนนี้ควรมีการตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป็นผู้ดำเนินการระหว่างเจ้าของบ้านเดิม และผู้ซื้อบ้าน

7. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ภายในบ้าน

หลังจากที่เราทำตามขั้นตอน และทำการดำเนินการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ สำหรับบ้านมือสอง ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายประเภทเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และงบในการตกแต่งบ้านต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถคุมงบประมาณได้ง่าย

ขั้นตอนการโอนบ้านมือสอง

  • เตรียมเอกสารและค่าใช้จ่ายต่างให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย พร้อมด้วยเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
  • นัดหมายกับผู้ขายเพื่อไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน ควรนัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และเลือกสำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่
  • ยื่นเอกสารและชำระค่าธรรมเนียม กรอกแบบฟอร์มการโอนกรรมสิทธิ์ และยื่นเอกสารทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
  • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและคำนวณค่าใช้จ่าย ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร คำนวณค่าธรรมเนียมและภาษีต่าง ๆ
  • ชำระเงินและรับใบเสร็จ ชำระเงินตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่แจ้ง ตรวจสอบความถูกต้องของใบเสร็จรับเงิน และเก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานสำคัญ
  • รอรับโฉนดที่ดินที่ได้รับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เรียบร้อย

กระบวนการทั้งหมดอาจใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หากเอกสารครบถ้วนและไม่มีปัญหาใด ๆ แต่อาจใช้เวลานานขึ้นในกรณีที่มีการติดจำนองหรือต้องไถ่ถอนจำนอง

วิธีคำนวณค่าโอนบ้านมือสอง

การคำนวณค่าโอนบ้านมือสองทำได้โดยรวมค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าอากรแสตมป์ ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้ามี) และค่าจดจำนอง ตัวอย่างเช่น หากซื้อบ้านมือสองราคา 2,500,000 บาท โดยมีราคาประเมินที่ดิน 2,000,000 บาท และผู้ขายถือครองบ้านมาแล้ว 6 ปี ค่าใช้จ่ายในการโอนจะประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการโอน 40,000 บาท ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 25,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 12,500 บาท และค่าจดจำนอง (สมมติว่ากู้ 2,000,000 บาท) 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 97,500 บาท

เลือกซื้อบ้านมือสองกับธนาคาร ธอส.

หากคุณกำลังมองหาบ้านมือสองที่มีทำเลดี ในราคาถูก ธอส. มีบ้านมือสองที่มีคุณภาพดีให้คุณเลือกมากมาย กว่า 10,000 รายการทั่วประเทศ สามารถเข้าชมรายการทรัพย์ได้ที่ เว็บไซต์ GHBHomecenter.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 

Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ 

Facebook Page บ้านมือสอง ธอส.

LINE Official Account: @GHBALLHOME

ติดต่อ G H BANK Call Center : 02 645 9000 กด 5 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บริการของเรา

สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน