ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย “ประกันภัยบ้านควรทำไหม”

/
/
ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย “ประกันภัยบ้านควรทำไหม”

หากใครที่ไม่มีประสบการณ์ขอสินเชื่อบ้านมาแล้ว ต้องแปลกใจกับกรมธรรม์ที่ยื่นมาให้ทำพร้อมกับการรับสินเชื่อ เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำประกันภัยด้วย (ซึ่งมีทั้งที่กฎหมายบังคับและไม่บังคับ) 

ถ้าหากคุณกำลังจะมองหาสินเชื่อบ้านหรือกำลังจะซื้อ/สร้างบ้าน การทำประกันภัยบ้านมีความสำคัญมากกว่าแค่กฎหมายกำหนด ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า ประกันภัยบ้านแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และแบบไหนบ้างที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี

ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน

ประกันภัยบ้าน คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยเมื่อเกิดเหตุที่สร้างความเสียหายให้แก่ตัวบ้านหรือทรัพย์สินภายในบ้าน บริษัทประกันเข้าประเมินความเสียหายและชดเชย/บรรเทาความสูญเสียตามกรมธรรม์ที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างจากการทำประกันชีวิต

การทำประกันภัยบ้านถือเป็นเรื่องจำเป็น ควรให้ความสำคัญ เพราะประโยชน์ของประกันคือการชดเชยความเสียหาย ซึ่งสำหรับบ้าน คือ สินทรัพย์มูลค่าสูง หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แก๊สระเบิด ฯลฯ จะได้มีเงินชดเชยเพื่อมารับมือกับเหตุที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่บ้านยังไม่หมดภาระหนี้สิน หากต้องเสียบ้านไป ก็ยังได้เงินจากประกันเพื่อมาจ่ายยอดเงินกู้คงเหลือของธนาคารได้

ประเภทของประกันภัยและความคุ้มครอง

ประกันภัยบ้านมีหลากหลายประเภทแบ่งอาจความคุ้มครอง เมื่อจะเลือกทำประกันประเภทใดก็ต้องทราบรายละเอียดเพื่อที่จะได้เลือกทำประกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยงไม่ต่างจากการเลือกประกันชีวิต และสำหรับประกันภัยบ้านก็สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

ประกันอัคคีภัย (กฎหมายบังคับ)

ประกันอัคคีภัย เป็นประกันที่คุ้มครองเหตุไฟไหม้ซึ่งครอบคลุมทั้งเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ฟ้าผ่า ฯลฯ และทั้งเหตุสุดวิสัยจากมนุษย์ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร การระเบิดของแก๊สหุ้งต้ม ฯลฯ หรือความเสียหายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ประกันประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองในระยะสั้น เช่น 1 ปี หรือ 2 – 3 ปี ค่าเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและลักษณะของอาคาร ทั้งนี้ ประกันอัคคีภัยเป็นประกันภัยภาคบังคับที่บ้านใหม่ทุกหลังต้องมี ซึ่งเป็นเหตุผลที่หลายๆ ธนาคารที่ให้สินเชื่อบ้านมักจะยื่นกรมธรรม์ให้ทำทันที ทั้งนี้ ยังเป็นการรับประกันว่า หากเกิดเหตุขึ้นกับบ้าน ธนาคารจะยังได้เงินที่ปล่อยสินเชื่อไปแล้วจากบริษัทประกัน 

  • คุ้มครองตัวบ้านจากเหตุไฟไหม้ ระเบิด ความสูญเสียที่เกี่ยวข้อง
  • คุ้มครองระยะสั้น 1 – 3 ปี
  • กฎหมายบังคับ
  • ค่าเบี้ยประกัน ไม่แน่นอน แต่ไม่เกิน 0.1% ของความคุ้มครอง

ประกันภัยพิบัติ (กฎหมายไม่บังคับ)

ประกันภัยพิบัติ คือ ประกันที่คุ้มครองความเสียหาย-สูญเสียของตัวบ้านหรือทรัพย์สินที่เกิดจากเหตุธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่คณะรัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง

ความคุ้มครองของประกันภัยบ้านประเภทนี้ จะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (Sub limit) หมายความว่า ไม่สามารถซื้อความคุ้มครองได้เต็มมูลค่าของบ้าน  โดยอัตราเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 0.5% ของความคุ้มครองต่อปี 

ทั้งนี้ หากต้องการความคุ้มครองมากกว่า 100,000 บาท ค่าเบี้ยประกันอาจสูงกว่า 0.5% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท

  • คุ้มครองตัวบ้านจากสถานการณ์ภัยพิบัติ
  • คุ้มครองรายปี 
  • กฎหมายไม่บังคับ
  • ค่าเบี้ยประกันไม่เกิน 0.5% ของความคุ้มครอง

ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม (กฎหมายไม่บังคับ)

ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม มักจะไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือนิยมทำกันเท่าไร แต่สำหรับบ้านที่มีสินทรัพย์มูลค่าสูง อยากได้รับความคุ้มครองสินทรัพย์สำคัญบางอย่าง และบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการโจรกรรม แนะนำให้ทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อบรรเทาความสูญเสียหากเกิดการโจรกรรม

ความคุ้มครองของประกันโจรกรรมจะคุ้มครอง 2 ส่วน ได้แก่ ความสูญเสียต่อทรัพย์สินที่เอาประกัน และความสูญเสียต่อตัวอาคารที่เก็บทรัพย์สินซึ่งเกิดจากการโจรกรรม โดยซื้อความคุ้มครองได้แบบปีต่อปี ซึ่งเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกันแต่ละเจ้า 

  • คุ้มครองทรัพย์สินและอาคารที่เก็บทรัพย์สินจากเหตุโจรกรรม
  • คุ้มครองรายปี
  • กฎหมายไม่บังคับ
  • ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกัน

ข้อควรรู้และคำแนะนำในการซื้อประกันภัยบ้าน

รูปภายในบทความ ประกันภัยบ้าน
  1. การทำประกันภัยบ้าน หากเลือกความคุ้มครองหรือเงินชดเชยได้ ควรเลือกอย่างต่ำ 70% ของมูลค่าสินทรัพย์ เพื่อให้ครอบคลุมค่าเสียหายส่วนใหญ่ได้ เช่น ประทำประกันอัคคีภัย
  2. เบี้ยประกันต่อปีจะถูกลงตามระยะเวลาเอาประกันที่ทำนานขึ้น
  3. เมื่อได้รับเงินชดเชยจากความสูญเสียแรกแล้ว หากเกิดเหตุในระยะเวลาเอาประกันอีกครั้ง จะได้รับเงินชดเชยจากการประเมินความสูญเสียในจำนวนเงินเอาประกันที่เหลืออยู่
  4. หากทำประกันมากกว่าหนึ่งประกัน เมื่อเกิดความสูญเสียประกันแต่ละเจ้า/แต่ละประกันจะหารความรับผิด (ผู้เอาประกันจะไม่ได้เงินประกันเกินกว่าที่ประเมินความเสียหาย)
  5. นอกจากประกันภัยบ้านทั้ง 3 ประเภทแล้ว ยังมีประกันสำหรับการมีบ้านอีกประเภท นั่นคือ ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองหนี้สินบ้าน/ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA

ประกันประเภทนี้ จะคอยคุ้มครองภาระหนี้สินที่ใช้ซื้อบ้านในกรณีที่ผู้ชำระหนี้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพที่ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อผ่อนชำระหนี้สินได้ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้สินแทน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเสาหลักในการหารายได้ให้ครอบครัวเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งต่อภาระหนี้ให้กับสมาชิกครอบครัว ในวันที่ไม่สามารถชำระหนี้สินได้แล้ว

สรุป

การทำประกันบ้านเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ถือเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน เพราะถ้าหากเกิดอะไรขึ้นกับที่อยู่อาศัยของเราหรืออาจถึงขั้นต้องสูญเสียบ้านไป แล้วไม่มีประกันที่มาช่วยบรรเทาความสูญเสีย เหตุการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นวิกฤตที่ยากจะผ่านพ้นไปได้

ทั้งนี้ ประกันอัคคีภัยเป็นประกันภาคบังคับที่บ้านหลังใหม่ทุกหลังต้องทำ ส่วนประกันภัยบ้านประเภทอื่นๆ สามารถเลือกทำให้ตรงกับความเสี่ยงในพื้นที่นั้นๆ และหากไม่อยากทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้กับครอบครัวหากไม่สามารถชำระหนี้สินบ้านได้อีกต่อไป ประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สินบ้านก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

คุณกำลังจะซื้อหรือสร้างบ้านอยู่หรือเปล่า? นอกจากเรื่องประกันภัยบ้านแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ อ่านบทความเพื่อเตรียมตัวมีบ้านในฝันกับ ธอส. ได้ที่นี่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
-

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องที่คุณ
อาจสนใจ

อัปเดตล่าสุด! คอนโดติดรถไฟฟ้า 0 เมตร ทำเลทอง ใกล้สถานที่สำคัญ ครบครันทุกความต้องการ พร้อมข้อมูลสินเชื่อจาก G H Bank
รู้ไว้ไม่เสียหาย! รวมกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อบ้าน การทำสัญญาซื้อขาย สัญญารับประกันงานก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายด้านภาษีที่เกี่ยวข้อง
ซื้อบ้านใหม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านไหม? รวม 5 ข้อควรรู้เรื่องทะเบียนบ้าน วิธีย้ายที่ถูกต้อง ประโยชน์ภาษี และขั้นตอนทั้งหมดสำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก
เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน