หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ริกเตอร์ในพม่าส่งผลกระทบถึงไทย ทำให้หลายอาคารเกิดความเสียหาย คำถามที่หลายคนสงสัยคือ รอยร้าวแบบไหนอันตราย และสังเกตได้อย่างไร บทความนี้จะแนะนำวิธีตรวจสอบบ้านร้าวแบบไหนอันตรายที่ควรเฝ้าระวัง พร้อมแนวทางติดต่อหน่วยงานเมื่อพบความเสียหายที่อาจเป็นอันตราย
4 ประเภทรอยร้าวจากแผ่นดินไหว

เมื่อบ้านมีรอยร้าวหลังเหตุแผ่นดินไหว ไม่ใช่ทุกรอยร้าวที่น่ากังวล แต่บางแบบอาจบ่งชี้ถึงความเสียหายโครงสร้างที่รุนแรง โดยเฉพาะเมื่อคอนโดมีรอยร้าวในแนวนอนหรือแนวเฉียง มาดูกันว่ารอยร้าวแบบไหนอันตราย และต้องรีบแจ้งผู้เชี่ยวชาญทันที
1. รอยแตกเส้นผม (Hairline Cracks) – อันตรายต่ำ
รอยแตกเส้นผมเป็นรอยร้าวขนาดเล็กที่มีความกว้างไม่เกิน 1-2 มิลลิเมตร มักพบได้ทั่วไปตามผนังปูน เมื่อบ้านมีรอยร้าวประเภทนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการหดตัวของวัสดุก่อสร้างหรือการทาสีที่ไม่เหมาะสม ในแง่ความปลอดภัย รอยร้าวประเภทนี้ยังไม่ส่งผลต่อโครงสร้างอาคาร แต่ควรเฝ้าระวังว่ามีการขยายตัวหรือไม่ โดยเฉพาะหลังเกิดฝ้าร้าวร่วมด้วย
2. รอยแตกแนวตั้ง (Vertical Cracks) – อันตรายต่ำถึงปานกลาง
บ้านร้าวแบบไหนอันตรายต้องดูที่ทิศทางของรอยร้าวด้วย รอยแตกแนวตั้งที่พบตามผนังมักมีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง แต่หากรอยแตกมีความกว้างเกิน 5 มิลลิเมตร หรือทะลุถึงอีกด้านของผนัง ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ โดยเฉพาะเมื่อพบว่าคอนโดมีรอยร้าวแนวตั้งบริเวณเสาหรือคาน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงแรงกระทำผิดปกติกับโครงสร้าง
3. รอยแตกแนวนอน (Horizontal Cracks) – อันตรายสูง
หากบ้านมีรอยร้าวในแนวนอนโดยเฉพาะบริเวณผนังรับน้ำหนัก ถือเป็นรอยร้าวผนังอันตรายที่ต้องระวัง เพราะอาจแสดงถึงการโก่งตัวของผนังจากแรงกระทำด้านข้าง รอยแตกประเภทนี้มักเกิดจากการเคลื่อนที่ของฐานรากหรือแรงกดทับจากโครงสร้างด้านบน ยิ่งถ้าคอนโดมีรอยร้าวแนวนอนตามชั้นหรือบริเวณเชื่อมต่อระหว่างเสากับคาน ยิ่งต้องรีบแจ้งผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโดยด่วน
4. รอยแตกเฉียง (Diagonal Cracks) – อันตรายที่สุด
รอยแตกเฉียงถือเป็นรอยร้าวผนังอันตรายที่สุด โดยเฉพาะเมื่อมีลักษณะเป็นรูปตัว X หรือมีความกว้างมากกว่า 5 มิลลิเมตร รอยร้าวลักษณะนี้มักเกิดจากการเคลื่อนตัวของโครงสร้างอย่างรุนแรงหรือการทรุดตัวของฐานราก ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างอาคารอาจได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อพบว่าฝ้าร้าวร่วมกับผนังแตกเป็นแนวเฉียง ควรรีบอพยพออกจากอาคารและแจ้งเจ้าหน้าที่โดยด่วน
หากได้รับความเสียหาย แจ้งหน่วยงานไหน

เมื่อพบบ้านร้าวแบบไหนอันตราย หรือคอนโดมีรอยร้าวที่น่ากังวล ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาประเมินความเสียหายอย่างละเอียด
- กรุงเทพมหานคร: แจ้งผ่าน Line @Traffyfondue พร้อมแนบภาพถ่ายรอยร้าว 2 ภาพ (มุมกว้างและมุมใกล้)
- ระบุรายละเอียดสำคัญ: ประเภทอาคาร จำนวนชั้น ขนาดรอยร้าว (มม.) และชั้นที่พบความเสียหาย
- สายด่วนกรมโยธาธิการและผังเมือง: 1531 หรือ 0-2299-4191 และ 0-2299-4312
- ต่างจังหวัด: ติดต่อกรมโยธาธิการและผังเมืองประจำจังหวัด
เงินเยียวยาช่วยดูแลจากเหตุแผ่นดินไหว
รัฐบาลได้จัดเตรียมเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหว ทั้งด้านที่อยู่อาศัยและการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ควรรีบตรวจสอบรอยร้าวแบบไหนอันตราย และรายงานความเสียหายอย่างรวดเร็ว
กรณีได้รับบาดเจ็บ
- ผู้ป่วยใน: ได้รับการดูแลภายใต้พระบรมราชานุเคราะห์
- ผู้ป่วยนอก: ได้รับความช่วยเหลือ 2,000 บาท (กรุงเทพมหานคร)
- เงินปลอบขวัญเพิ่มเติม: 2,300 บาท ต่อราย
- กรณีเครื่องมือประกอบอาชีพเสียหาย: ช่วยเหลือไม่เกิน 11,400 บาทต่อครอบครัว
กรณีเสียชีวิต
- ค่าจัดการศพ: ช่วยเหลือรายละ 29,700 บาท
- กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว: ได้รับเพิ่มอีก 29,700 บาท (จากกรมป้องกันฯ)
- ที่อยู่อาศัยเสียหาย: ช่วยเหลือไม่เกิน 49,500 บาทต่อครอบครัว
ธอส. จัดทำมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์แผ่นดินไหว
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวอย่างรวดเร็ว ด้วยโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย 2 มาตรการสำคัญ คือ การลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าปัจจุบัน (ดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก) และ สินเชื่อซ่อมแซม-รีโนเวทบ้าน วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท (ดอกเบี้ย 0% 3 เดือนแรก) นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ครอบคลุมทั้งลูกค้าปกติและลูกค้า NPL พร้อมพิจารณาสินไหมเร่งด่วนสำหรับผู้ที่ทำประกันภัยกับธนาคาร
สรุปวิธีเช็กรอยร้าวจากแผ่นดินไหว

การตรวจสอบรอยร้าวแบบไหนอันตรายหลังเหตุแผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย โดยเฉพาะรอยร้าวแนวนอนและแนวเฉียงที่มักบ่งชี้ถึงปัญหาโครงสร้างรุนแรง หากพบบ้านมีรอยร้าว หรือคอนโดมีรอยร้าวที่น่ากังวล ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที สำหรับค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) พร้อมสนับสนุน สินเชื่อบ้าน และมาตรการช่วยเหลือพิเศษเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน สอดคล้องกับพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” ที่มั่นคงและปลอดภัย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ www.ghbank.co.th
หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่
หรือติดต่อได้ที่ ธอส. ทุกสาขาทั่วประเทศ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ G H Bank Call Center : 0-2645-9000
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/1173343