6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่ายๆ เพียงทำตามขั้นตอนนี้

/
/
6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่ายๆ เพียงทำตามขั้นตอนนี้

เตรียมตัวคำนวณ “ลดหย่อนภาษี” เพื่อไว้ใช้ยื่นภาษีจริงในปีหน้า ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอนนี้

 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอน รับรอง ครบ จบ ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีสิ้นปีอีกต่อไป

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนกังวล โดยเฉพาะเหล่าคนทำงาน คือเตรียมตัวคำนวณ “ลดหย่อนภาษี” เพื่อไว้ใช้ยื่นภาษีจริงในปีหน้า ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอนนี้ รับรองว่าไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีสิ้นปีอีกต่อไป

ความสำคัญของการลดหย่อนภาษี

การลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น โดยเป็นรายการใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วเพิ่มเติมได้ และวิธีนี้ไม่ใช่การเลี่ยงภาษี แต่เป็นรายการที่กฎหมายอนุญาตให้ทุกคนทำได้นั่นเอง

6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆลดหย่อนภาษีส่วนตัว

6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆลดหย่อนภาษีส่วนตัว

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว

    สำหรับการลดหย่อนภาษีส่วนตัว กรมสรรพากรได้กำหนดให้ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ที่มีรายได้ทุกคน ที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ทันที โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ

    2. ลดหย่อนภาษีครอบครัว

    การลดหย่อนภาษีของครอบครัวนั้น แต่ละครอบครัวสามารถนำค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ นอกจากนั้นยังมีในกรณีที่เรามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตร หรือการตั้งครรภ์ ก็สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนได้เช่นกัน

    • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
    • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท (ทั้งนี้การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว) หากทั้งสามีและภรรยายื่นภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้
    • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
      • กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
      • กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
      • กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
    • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
    • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

    3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน

    ในกรณีที่คุณจ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตในช่วงปีที่ผ่านมา สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายตลอดทั้งปีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น

    • เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    • เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
    • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
    • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

    4. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน

    การลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนอีกหนึ่งวิธีลดหย่อนภาษี ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยเราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ก็ได้ อาทิ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

    • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF: Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF: Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
    • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยธุรกิจนั้นต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์แบ่งปันกำไร และต้องถือหุ้นจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกิจการ

    5. ลดหย่อนภาษีด้วยกลุ่มเงินบริจาค

    ลดหย่อนภาษีด้วยกลุ่มเงินบริจาค

    การลดหย่อนภาษีด้วยกลุ่มเงินบริจาค หากเรามีการบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่การลดหย่อนผ่านเงินบริจาค ต้องมีการอัปเดตเงื่อนไขจากภาครัฐอยู่เสมอ เพราะอาจมีทั้งองค์กรที่เพิ่มขึ้น และเงื่อนไขการรับบริจาคที่ปรับปรุงใหม่

    • เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า หากคุณบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาครจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยงาน หรือโรงพยาบาลที่เข้าเงื่อนไขได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
    • บริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหัก
    • บริจาคพรรคการเมือง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

    6. ลดหย่อนภาษีโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

    รายจ่ายกลุ่มสุดท้ายที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ก็คือ การใช้จ่ายที่อยู่ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย หรือโครงการช้อปดีมีคืน โดยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปในแต่ละปี

    • โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่จ่ายจริง โดย 30,000 บาทแรกเป็นค่าซื้อสินค้าและบริการที่มีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ และอีก 10,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น สินค้าและบริการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ สินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ (รวมถึง E-Book)
    • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

    ฝากเงินกับ ธอส. ไม่เสียภาษี รับดอกเบี้ยเต็ม ๆ

    ในปัจจุบันวิธีเก็บเงินที่ได้รับความนิยมที่สุด คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเก็บเอาไว้ในบัญชีเงินฝากของธนาคาร แต่หลาย ๆ คนที่มีเงินฝากจำนวนมาก ก็อาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และไม่อยากยุ่งยากไปกับการลดหย่อนภาษี

    ฝากเงินกับ ธอส. สามารถทำได้ง่าย มีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายไปไหน และสามารถมั่นใจได้กับดอกเบี้ยที่แน่นอน และบางครั้งระยะเวลาที่กำหนดในการฝากเงินก็จะช่วยให้เงินไม่ถูกนำไปใช้ตามใจของเรามากจนเกินไป 

    อีกทั้งฝากเงินกับ ธอส. ยังไม่เสียภาษี และยังมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนั้น ธอส. ยังมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้สามารถเลือกการออมในรูปแบบต่าง ๆ ได้

    สลากออมทรัพย์ ธอส. ช่วยเพิ่มโอกาสในทุกการลงทุน

    นอกจากเรื่องของเงินฝาก ธอส. ยังได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ มั่นคงให้ผลตอบแทนดี โดยสลากออมทรัพย์ ธอส. ชุดขาลเพิ่มพูนปี 2566 เป็นสลากรุ่นใหม่ลูกค้ามีโอกาสลุ้นเงินรางวัลที่ 1 สูงสุดถึง 2 ล้านบาท ระยะเวลา 36 งวด

    รู้จักกับ “สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุด ขาลเพิ่มพูน ปี 2566”

    รางวัลใหญ่

    • รางวัลที่ 1 มูลค่ารางวัลสูงถึง 2 ล้านบาท จำนวน 1 รางวัล
    • รางวัลที่ 2 มูลค่ารางวัลละ 20,000 บาท จำนวน 4 รางวัล
    • รางวัลที่ 3 มูลค่ารางวัลละ 2,000 บาท จำนวน 40 รางวัล

    รางวัลเลขท้าย

    • รางวัลเลขท้าย 3 ตัว หมุน 1 ครั้ง รางวัลละ 90 บาท
    • รางวัลเลขท้าย 2 ตัว หมุน 1 ครั้ง รางวัลละ 40 บาท

    หากฝากตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป การันตีถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัวทุกงวดรับผลตอบแทน 1.630% ต่อปี ฝากตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป การันตีถูกรางวัลเลขท้าย 2 ตัว และรางวัลเลขท้าย 3 ตัวทุกงวด รับผลตอบแทน 1.738% ต่อปี

    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ สลากออมทรัพย์ ธอส. ชุด “ขาลเพิ่มพูน ปี 2566 >>> ได้ที่นี่

    ฝากเงินและซื้อสลากออมทรัพย์ กับ ธอส. ง่าย ไม่เสียภาษี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า

    การฝากเงิน หรือการซื้อสลากออมทรัพย์ ถือเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิต และการลงทุน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้ เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ปลอดภัยด้านการเงินตลอดไปจนถึงวัยเกษียณ เลือกฝากเงินกับ ธอส. ไม่เสียภาษี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า รวมไปถึงการซื้อสลากออมทรัพย์ กับ ธอส. เพื่อการลงทุนที่มีความมั่นคง และให้ผลตอบแทนดี 

    หากสนใจฝากเงินกับ ธอส. สามารถกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฝากเงิน >>> ได้ที่นี่

    สนใจลงทะเบียนซื้อสลากออมทรัพย์ได้ที่ >>> ได้ที่นี่

    นอกจากนี้ ถ้าคุณวางแผนจะซื้อบ้านและต้องการที่ปรึกษาวางแผนและบริหารจัดการด้านการเงินต่าง ๆ ก็ปรึกษากับเราโดยตรงได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ 

    สนใจขอสินเชื่อบ้านกับ ธอส. ได้ผ่านช่องทางบริการดังนี้

    • ยื่นขอสินเชื่อด้วยตนเองผ่าน GHB ALL GEN คลิก https://bit.ly/42bftBa
    • ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารติดต่อกลับ เพื่อแนะนำสินเชื่อคลิก https://bit.ly/45KbcG9
    • แชทสอบถามปรึกษาสินเชื่อคลิก m.me/GHBank
    • ข้อเสนอดีๆ เพื่อคนอยากมีบ้านจาก ธอส. เพิ่มเติมคลิก : https://www.ghbank.co.th/product/loan

    ที่มา: 

    เรื่องที่เกี่ยวข้อง
    -

    บริการของเรา

    สนใจผลิตภัณฑ์ธนาคาร

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    เรื่องที่คุณอาจสนใจ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    เรื่องที่คุณ
    อาจสนใจ

    มาดูกันว่า 3 สินเชื่อบ้าน ธอส. อัตราดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนชำระล้านละ 3,300 บาท/เดือน มีอะไรบ้าง และแต่ละโครงการสินเชื่อเหมาะกับใคร
    ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 จุดตรวจสอบบ้านมือสอง ที่ควรรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง การตรวจรับบ้าน เป็นขั้นตอนสำคัญที่คนที่จะซื้อบ้านทุกคนควรรู้
    ในบทความนี้ ธอส. ได้รวบรวม 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ที่ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย ให้ได้นำมาปลูกกัน ช่วยเพิ่มความร่มรื่น และช่วยเพิ่มความสิริมงคล

    ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

    อัปเดตทุก
    เรื่องบ้าน

    อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

    ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

    อัปเดตทุก
    เรื่องบ้าน

    อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

    ติดตามข่าวสารจาก GH BANK

    อัปเดตทุก เรื่องบ้าน

    อัพเดตเรื่องบ้านก่อนใคร รู้ก่อนได้เปรียบ

    ค้นหาตาม Keyword เช่น การเงิน, การลงทุน, สินเชื่อ, บ้าน