การลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคนที่มีรายได้และต้องเสียภาษี ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ หากมีการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดีจะช่วยให้คุณประหยัดเงินและได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบภาษี
วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอน รับรอง ครบ จบ ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีสิ้นปีอีกต่อไป
เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนกังวล โดยเฉพาะเหล่าคนทำงาน คือเตรียมตัวคำนวณ “ลดหย่อนภาษี” เพื่อไว้ใช้ยื่นภาษีจริงในปีหน้า ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ เพียงทำตามขั้นตอนนี้ รับรองว่าไม่ต้องกังวลเรื่องภาษีสิ้นปีอีกต่อไป
- การลดหย่อนภาษี คืออะไร
- ความสำคัญของการลดหย่อนภาษี
- การลดหย่อนภาษีดีอย่างไร
- ใครที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- 6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ ลดหย่อนภาษีส่วนตัว
- ฝากเงินกับ ธอส. ไม่เสียภาษี รับดอกเบี้ยเต็ม ๆ
- สลากออมทรัพย์ ธอส. ช่วยเพิ่มโอกาสในทุกการลงทุน
- ฝากเงินและซื้อสลากออมทรัพย์ กับ ธอส. ง่าย ไม่เสียภาษี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การลดหย่อนภาษี คืออะไร
การลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อลดจำนวนเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษี ทำให้เสียภาษีน้อยลง โดยมีวิธีการคำนวณภาษีทั่วไป ดังนี้
- รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่าย = เงินได้พึงประเมิน
- เงินได้พึงประเมิน – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
- เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
ดังนั้น ยิ่งมีค่าลดหย่อนมาก ก็จะยิ่งช่วยลดจำนวนเงินได้สุทธิ ส่งผลให้เสียภาษีน้อยลง
ความสำคัญของการลดหย่อนภาษี
การลดหย่อนภาษี เป็นวิธีที่จะทำให้เราได้เงินภาษีคืน และประหยัดเงินในกระเป๋าของตัวเองได้มากขึ้น โดยเป็นรายการใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วเพิ่มเติมได้ และวิธีนี้ไม่ใช่การเลี่ยงภาษี แต่เป็นรายการที่กฎหมายอนุญาตให้ทุกคนทำได้นั่นเอง
การลดหย่อนภาษีดีอย่างไร
การลดหย่อนภาษีมีประโยชน์หลัก ๆ อยู่ 3 เรื่อง ได้แก่ การช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลง การเพิ่มเงินเหลือสำหรับการใช้จ่ายหรือการออม และการได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมจากการลงทุนหรือการทำประกัน ซึ่งแต่ละด้านล้วนมีส่วนช่วยในการวางแผนทางการเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มาดูกันว่าข้อดีของการลดหย่อนภาษีคืออะไร ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง สามารถส่งผลดีต่อสถานะทางการเงินของคุณได้อย่างไรบ้าง
จ่ายภาษีน้อยลง
การใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่าย ทำให้คุณมีเงินเหลือมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากคุณมีเงินได้สุทธิ 500,000 บาท คุณจะต้องจ่ายภาษี 27,500 บาท แต่ถ้าคุณใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่ม 100,000 บาท เงินได้สุทธิจะเหลือ 400,000 บาท และคุณจะจ่ายภาษีเพียง 17,500 บาท ทำให้ประหยัดภาษีได้ 10,000 บาท
มีเงินเหลือมากขึ้น
เมื่อคุณจ่ายภาษีน้อยลง นั่นหมายความว่าคุณจะมีเงินเหลือมากขึ้นสำหรับการใช้จ่าย การออม หรือการลงทุนในอนาคต เงินที่ประหยัดได้จากการลดหย่อนภาษีสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้
ยกตัวอย่างจากกรณีข้างต้น เงิน 10,000 บาทที่ประหยัดได้จากการลดหย่อนภาษี หากนำไปลงทุนต่อที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี คุณจะมีเงินเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 16,288.95 บาท ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเงินที่ประหยัดได้
ได้ผลประโยชน์
การลดหย่อนภาษีบางประเภท เช่น การลงทุนในกองทุนรวม หรือการทำประกันชีวิต นอกจากจะช่วยลดภาษีแล้ว ยังให้ผลตอบแทนหรือความคุ้มครองเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น การลงทุนใน RMF 100,000 บาท นอกจากจะช่วยลดภาษีได้สูงสุด 30,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้อยู่ในขั้นภาษี 30%) แล้ว ยังมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวอีกด้วย
ใครที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
โดยทั่วไป บุคคลที่มีรายได้ตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไปต่อปีจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม การลดหย่อนภาษี บุคคลธรรมดา มีอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามระดับรายได้ ดังนี้
- รายได้รวมต่ำกว่า 150,000 บาท/ปี ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี
- รายได้รวม 150,001 – 300,000 บาท/ปี เสียภาษี 5%
- รายได้รวม 300,001 – 500,000 บาท/ปี เสียภาษี 10%
- รายได้รวม 500,001 – 750,000 บาท/ปี เสียภาษี 15%
- รายได้รวม 750,001 – 1,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 20%
- รายได้รวม 1,000,001 – 2,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 25%
- รายได้รวม 2,000,001 – 5,000,000 บาท/ปี เสียภาษี 30%
- รายได้รวม 5,000,001 บาทขึ้นไป/ปี เสียภาษี 35%
6 วิธีลดหย่อนภาษีสิ้นปีง่าย ๆ ลดหย่อนภาษีส่วนตัว
ต่อไปนี้เป็น 6 วิธีการลดหย่อนภาษีที่สำคัญ ซึ่งคุณสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเองได้
1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว
สำหรับการลดหย่อนภาษีส่วนตัว กรมสรรพากรได้กำหนดให้ สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท เป็นสิทธิพื้นฐานของผู้ที่มีรายได้ทุกคน ที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ทันที โดยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ
2. ลดหย่อนภาษีครอบครัว
การลดหย่อนภาษีของครอบครัวนั้น แต่ละครอบครัวสามารถนำค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ นอกจากนั้นยังมีในกรณีที่เรามีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุตร หรือการตั้งครรภ์ ก็สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนได้เช่นกัน
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสจะต้องไม่มีรายได้
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง รวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท (ทั้งนี้การตั้งครรภ์ลูกแฝดจะนับว่าเป็นครรภ์เดียว) หากทั้งสามีและภรรยายื่นภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่ หรือในกรณีที่บุตรอายุเกิน 25 ปี ขึ้นไป แต่มีสถานะเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้ตามจำนวนบุตรจริง
- กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
- กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม: ให้ใช้สิทธิบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก่อน และหากบุตรบุญธรรมเป็นคนที่ 4 จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมอยู่ในคนที่ 1-3 สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน กล่าวคือ สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท (และจะต้องไม่ใช่พ่อแม่บุญธรรม) โดยบิดามารดาจะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนซ้ำระหว่างพี่น้องได้
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท และผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ
3. ลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน
ในกรณีที่คุณจ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตในช่วงปีที่ผ่านมา สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายตลอดทั้งปีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยจะต้องเป็นกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป ที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงทุนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
4. ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
การลดหย่อนภาษีด้วยกองทุนอีกหนึ่งวิธีลดหย่อนภาษี ซึ่งเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยเราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ก็ได้ อาทิ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF: Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF: Super Saving Funds) เป็นกองทุนเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับลดหย่อนภาษี 5 ปี
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 13,200 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) สำหรับผู้ที่ลงทุนในธุรกิจ Social Enterprise ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยธุรกิจนั้นต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์แบ่งปันกำไร และต้องถือหุ้นจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกิจการ
5. ลดหย่อนภาษีด้วยกลุ่มเงินบริจาค
การลดหย่อนภาษีด้วยกลุ่มเงินบริจาค หากเรามีการบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่การลดหย่อนผ่านเงินบริจาค ต้องมีการอัปเดตเงื่อนไขจากภาครัฐอยู่เสมอ เพราะอาจมีทั้งองค์กรที่เพิ่มขึ้น และเงื่อนไขการรับบริจาคที่ปรับปรุงใหม่
- เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า หากคุณบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาครจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยงาน หรือโรงพยาบาลที่เข้าเงื่อนไขได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
- บริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหัก
- บริจาคพรรคการเมือง สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
6. ลดหย่อนภาษีโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
รายจ่ายกลุ่มสุดท้ายที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ก็คือ การใช้จ่ายที่อยู่ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ โดยปีนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการลดหย่อนภาษีหลายรายการที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือประชาชน มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ในปี 2567
- Easy e-Receipt 2567 สามารถนำค่าซื้อสินค้าและบริการมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท ตามที่จ่ายจริง มีเงื่อนไขที่ต้องเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice หรือ e-Receipt) ตั้งแต่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยสินค้าและบริการที่นำมาลดหย่อนจะเป็นสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สินค้า OTOP หนังสือและ E-Book
- เที่ยวเมืองรอง 2567 สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบค้นหาเสน่ห์ของเมืองรอง รัฐบาลมีข่าวดีที่สามารถนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวเมืองรองมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท ตามที่จ่ายจริง โดยครอบคลุม 55 จังหวัดรอง ค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนได้จะเป็นค่าบริการท่องเที่ยวมัคคุเทศก์ ค่าแพ็คเกจทัวร์ ค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ท หรือโฮมสเตย์ ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 30 พฤศจิกายน 2567 (รอประกาศเป็นกฎหมาย)
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยมาลดหย่อนภาษีได้ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ครอบคลุมที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร
- ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนสร้างบ้านใหม่ รัฐบาลมีมาตรการพิเศษให้คุณสามารถนำค่าก่อสร้างมาลดหย่อนภาษีได้ ลดหย่อนได้ 10,000 บาท ต่อค่าก่อสร้างทุก 1 ล้านบาท (รวม VAT) ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท จำกัดเพียง 1 หลังเท่านั้น มูลค่าก่อสร้างสูงสุดที่นำมาคำนวณ: 10,000,000 บาท ช่วงเวลาที่เริ่มก่อสร้าง 9 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568
ฝากเงินกับ ธอส. ไม่เสียภาษี รับดอกเบี้ยเต็ม ๆ
ในปัจจุบันวิธีเก็บเงินที่ได้รับความนิยมที่สุด คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการเก็บเอาไว้ในบัญชีเงินฝากของธนาคาร แต่หลาย ๆ คนที่มีเงินฝากจำนวนมาก ก็อาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก และไม่อยากยุ่งยากไปกับการลดหย่อนภาษี
ฝากเงินกับ ธอส. สามารถทำได้ง่าย มีความเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายไปไหน และสามารถมั่นใจได้กับดอกเบี้ยที่แน่นอน และบางครั้งระยะเวลาที่กำหนดในการฝากเงินก็จะช่วยให้เงินไม่ถูกนำไปใช้ตามใจของเรามากจนเกินไป
อีกทั้งฝากเงินกับ ธอส. ยังไม่เสียภาษี และยังมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนั้น ธอส. ยังมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้สามารถเลือกการออมในรูปแบบต่าง ๆ ได้
ดูผลิตภัณฑ์เงินฝาก ธอส. ได้ที่ ผลิตภัณฑ์เงินฝากธอส.
สนใจเปิดบัญชีเงินฝาก ธอส. ได้ที่นี่ > ฝากเงินกับ ธอส.
สลากออมทรัพย์ ธอส. ช่วยเพิ่มโอกาสในทุกการลงทุน
นอกจากเรื่องของเงินฝาก ธอส. ยังได้เพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ มั่นคงให้ผลตอบแทนดี กับสลากออมทรัพย์ ธอส. เริ่มต้นหน่วยละ 1,000 บาท ลุ้นรางวัลใหญ่ทุกเดือน โอกาสถูกรางวัลสูง
ฝากเงินและซื้อสลากออมทรัพย์ กับ ธอส. ง่าย ไม่เสียภาษี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การฝากเงิน หรือการซื้อสลากออมทรัพย์ ถือเป็นการสร้างความมั่นคงในชีวิต และการลงทุน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการได้ เพื่อที่จะได้มีชีวิตที่ปลอดภัยด้านการเงินตลอดไปจนถึงวัยเกษียณ เลือกฝากเงินกับ ธอส. ไม่เสียภาษี พร้อมผลตอบแทนที่คุ้มค่า รวมไปถึงการซื้อสลากออมทรัพย์ กับ ธอส. เพื่อการลงทุนที่มีความมั่นคง และให้ผลตอบแทนดี
หากสนใจฝากเงินกับ ธอส. สามารถกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำเรื่องการฝากเงิน >>> ได้ที่นี่
สนใจลงทะเบียนซื้อสลากออมทรัพย์ได้ที่ >>> ได้ที่นี่
นอกจากนี้ ถ้าคุณวางแผนจะซื้อบ้านและต้องการที่ปรึกษาวางแผนและบริหารจัดการด้านการเงินต่าง ๆ ก็ปรึกษากับเราโดยตรงได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ
สนใจขอสินเชื่อบ้านกับ ธอส. ได้ผ่านช่องทางบริการดังนี้
- ยื่นขอสินเชื่อด้วยตนเองผ่าน GHB ALL GEN คลิก https://bit.ly/42bftBa
- ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารติดต่อกลับ เพื่อแนะนำสินเชื่อคลิก https://bit.ly/45KbcG9
- แชทสอบถามปรึกษาสินเชื่อคลิก m.me/GHBank
- ข้อเสนอดีๆ เพื่อคนอยากมีบ้านจาก ธอส. เพิ่มเติมคลิก : https://www.ghbank.co.th/product/loan
ที่มา: