ก่อนซื้อบ้านมือสองที่ผ่านการใช้งานมาก่อน การตรวจรับบ้าน เป็นขั้นตอนสำคัญที่คนที่จะซื้อบ้านทุกคนควรรู้ ในบทความนี้เราได้รวบรวม 10 จุดตรวจสอบบ้านมือสอง ที่ควรรู้ก่อนซื้อ
ในปัจจุบันบ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ที่เริ่มอยากมีบ้าน เพราะด้วยราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่ใช้สอยที่ใกล้เคียงกันกับบ้านใหม่ อีกทั้งยังมีทำเลให้ได้เลือกมากมาย
แต่การซื้อบ้านมือสอง นอกจากราคาที่ถูกลงแล้ว อีกสิ่งปัญหาที่มักจะตามมาจากการซื้อบ้านคือความสึกหรอของบริเวณบ้าน เพราะฉะนั้นก่อนซื้อบ้านมือสอง เราตรวจเช็คความเรียบร้อยของโครงสร้าง และงานระบบต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ในบทความนี้เราจะพาไปดู 10 จุดตรวจสอบบ้านมือสอง ที่ควรรู้ก่อนซื้อ
รวม 10 จุดตรวจสอบบ้านมือสอง
1. บริเวณรอบ ๆ บ้าน
หนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนจะเริ่มตรวจสอบภายในบ้านมือ คือการตรวจสอบบริเวณรอบ ๆ บ้าน ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรงของบริเวณรอบ ๆ บ้าน เช่น ถนน รั้วบ้าน สวนหน้าบ้าน ท่อระบายน้ำ หรือระเบียงบ้านนั่นเอง
- สวนหน้าบ้าน ควรจะต้องมีการถมดินให้เต็มพื้นที่ และมีการปลูกหญ้า และต้นไม้เรียงอย่างสวยงาม ไม่มีเศษวัสดุหรือสิ่งสกปรกเหลืออยู่ รวมไปถึงการกำจัดสัตว์ร้าย หรือแมลงต่าง ๆ ในสวนด้วย
- รั้ว และประตูรั้วบ้าน จะต้องแข็งแรงไม่เอียง หรือมีรอยร้าว และผิวของรั้วจะต้องมีความเรียบเนียน ไม่มีคราบสกปรกหรือร่องรอยความเสียหาย นอกจากนั้นควรต้องตรวจสอบเรื่องของสนิมว่าทำให้เปิดประตูยาก หรือเกิดการแตกหักหรือเปล่า
- ถนนหรือพื้นหน้าบ้าน จะต้องเรียบเนียน ไม่มีร่องรอยเสียหายหรือเป็นหลุมบ่อ ดูแล้วรู้สึกสะอาดตาและปลอดโปร่ง ที่สำคัญคือต้องสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี
2. ประตู และหน้าต่างของตัวบ้าน
ประตู และหน้าต่างถือเป็นส่วนสำคัญของตัวบ้าน เพราะประตู และหน้าต่างที่ดีจะช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับที่อยู่อาศัย และผู้อยู่อาศัยได้ รวมไปถึงยังช่วยป้องกันสิ่งต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาในบ้านได้เช่นกัน
- ประตู การตรวจสอบประตูจะต้องไล่ตั้งแต่การเปิดปิดประตู เพื่อดูว่าบานประตูทำงานได้ดีหรือไม่ มีการขูดกับพื้นหรือไม่ เมื่อปิดประตูแล้วเรียบสนิทกับผนังหรือเปล่า และที่สำคัญคือการตรวจสอบวงกบของประตูว่ามีสปริง หรือเหล็กอะไรที่ยื่นออกมาผิดปกติหรือไม่
- หน้าต่าง ต้องตรวจสอบโดยการลองเปิดปิดหน้าต่าง เพื่อเช็คว่าหน้าต่างทั้งบานเปิด หรือบานเลื่อนสามารถใช้งานได้ หรือเปิดได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด แสดงว่ามีการติดตั้งมาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องมีการตรวจดูตรงช่องว่างต่าง ๆ ของบานหน้าต่างว่าปิดเรียบสนิทเข้ากับวงกบหรือไม่
3. หลังคา และฝ้าเพดาน
หลังคา และฝ้าเพดานถือเป็นโครงสร้างที่สำคัญอันดับต้น ๆ เพราะถ้าหากเกิดชำรุด หรือรั่วขึ้นมา อาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคตได้ เช่น น้ำรั่วซึม มีสัตว์ตัวเล็กขึ้นไปอยู่บนฝ้าเพดาน และที่แย่กว่านั้นคืออาจทำให้ฝ้าเพดานอาจจะถล่มลงมาได้
สำหรับการตรวจสอบฝ้าเพดานทำได้ง่าย ๆ ด้วยการสังเกตรอยต่อว่าเรียบสนิทติดกัน ไม่มีการปีนป่ายหรือไม่มีส่วนที่ปูดนูนออกมาจนสังเกตได้อย่างชัดเจน แต่ควรประสานกันเรียบสนิท ให้สังเกตอย่างละเอียดโดยเฉพาะบริเวณที่เชื่อมต่อโครงสร้างบ้าน
4. พื้นบ้าน
สำหรับการตรวจสอบพื้นกระเบื้อง ควรตรวจสอบตามจุดต่าง ๆ ว่ายังอยู่ในสภาพที่ดี หรือมีส่วนใดที่ชำรุด แตกหรือไม่ ถ้าเจอจุดที่ชำรุดหรือแตก ควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย ซึ่งหากมีงบประมาณน้อย อาจจะเลือกซ่อมแซมในบางจุดที่เสียหายโดยไม่จำเป็นต้องปูใหม่ทั้งหมด และใช้วิธีเลือกสีที่ใกล้เคียงกัน
5. บันไดบ้าน
ปกติแล้วบันไดตามบ้านต่าง ๆ จะใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นไม้จริง หรือไม้ทดแทน จึงควรตรวจสอบสภาพการใช้งาน ยังใช้ได้อยู่ หรือมีปลวกขึ้นแล้วหรือไม่ นอกจากนั้นขั้นบันไดควรมีความสม่ำเสมอเท่ากันทุกขั้น หากไม่เท่ากันอาจทำให้เกิดการสะดุดขึ้นได้ เวลาเดินไม่มีเสียง สภาพผิวพื้นดี ไม่ผุพังหรือถลอก มีราวจับที่แข็งแรง มั่นคง ไม่โยกไปมา และแต่ละขั้นบันไดเป็นฉาก ไม่เอนเอียง เป็นต้น
6. งานเหล็ก และวัสดุอะลูมิเนียม
บ้านส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของงานเหล็ก และอะลูมิเนียมตามส่วนต่าง ๆ ของบ้าน เพราะฉะนั้นเราควรตรวจสอบงานเหล็กในแต่ละส่วนของตัวบ้านให้ดี เช่น สนิม นอกจากนั้นโครงสร้างของงานเหล็กที่อยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้านควรมีความแข็งแรง มีการติดตั้งที่ตรงตามที่ดีไซน์เอาไว้ เพราะจะกลับมาแก้ไขในภายหลังได้ยากมาก
7. ผนังบ้าน
สำหรับการตรวจสอบผนัง ควรตรวจสอบเรื่องของการฉาบปูนว่าเรียบหรือไม่ ทาสีผนังได้กลมกลืนไปทางเดียวกัน ไม่มีรอยแหว่งในการทาสี ไม่มีรูหรือรอยแตกบนผนัง ถ้าเป็นผนังที่มีการปูกระเบื้องจะต้องทำการตรวจเช็คว่ามีการปูกระเบื้องที่เรียบร้อยหรือไม่ กระเบื้องเรียบสนิทต่อกันในแต่ละแผ่น และเรียบเนียนสวยงาม
นอกจากนั้นผนังบ้านที่ดีจะต้องแข็งแรง ไม่มีรอยร้าว และสามารถเก็บเสียงต่าง ๆ ภายในตัวบ้านได้ดี รวมถึงสามารถป้องกันเสียงรบกวนเข้าสู่ตัวบ้านด้วยเช่นกัน
8. ระบบน้ำ
การตรวจระบบน้ำนั้นมีหลายส่วนที่ต้องดู เพื่อที่จะรู้ระบบน้ำที่ใช้ภายในบ้านว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่ การทำงานของงานประปาภายในและภายนอกตัวบ้านทำงานได้อยู่ครบถ้วนทุกจุดหรือไม่ สามารถทำได้เบื้องต้นโดยการเปิดเช็กน้ำในทุกจุดว่าสามารถไหลได้ดี สม่ำเสมอหรือไม่
นอกจากนั้นควรทำการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลด้วยเช่นกัน โดยเริ่มตรวจสอบจากสุขภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งเรื่องของความสะอาด สามารถระบายน้ำได้ดีหรือไม่ รวมไปถึงรอยรั่วซึม หรือสิ่งปฏิกูลอยู่ตามจุดต่าง ๆ ในห้องน้ำ
9. ระบบไฟ
การซื้อบ้านมือสองที่มีการใช้งานมาก่อนเป็นเวลานาน อาจเกิดปัญหาระบบไฟได้ โดยการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ให้เช็คว่าระบบไฟฟ้าสามารถทำงานได้ดีทั่วทั้งบ้านหรือไม่ โดยให้เปิดไฟทุกจุดในตัวบ้าน จากนั้นเดินไล่ดูให้รอบทั้งภายนอก และภายในบ้านทุกห้องว่าทุกตำแหน่งสามารถเปิดไฟได้ และไม่มีไฟกะพริบเกิดขึ้น
10. ตรวจสอบแปลนบ้าน
แบบแปลนบ้านเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น และสำคัญต่อการตรวจรับบ้านอย่างมาก เพราะแบบแปลนบ้านจะทำให้ทราบรายละเอียด และองค์ประกอบต่าง ๆ ในตัวบ้านว่ามีอะไรบ้าง รวมไปถึงการต่อเติมบริเวณตัวบ้านส่วนต่าง ๆ ว่าผิดกฎหมาย หรือมีการลุกล้ำไปบริเวณนอกบ้านหรือไม่
นอกจากนั้นการเปรียบเทียบตัวบ้านกับแบบแปลนบ้านจึงช่วยให้ผู้ซื้อบ้านมั่นใจได้ว่าตัวบ้านจะมีลักษณะตรงกับแบบแปลนบ้านในทุก ๆ จุด
เลือกซื้อบ้านมือสองกับธนาคาร ธอส.
หากคุณกำลังมองหาบ้านมือสองที่มีทำเลดี ในราคาถูก ธอส. มีบ้านมือสองที่มีคุณภาพดีให้คุณเลือกมากมาย กว่า 10,000 รายการทั่วประเทศ
พร้อมรับโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำสุด 0 % นานสูงสุด 24 เดือนแรก* ผ่อนสบายสูงสุด 40 ปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3PtbIDa
สนใจขอสินเชื่อบ้าน ธอส. ได้ผ่านช่องทางบริการดังนี้
- ยื่นขอสินเชื่อบ้านด้วยตนเองผ่าน GHB ALL GEN : https://bit.ly/42bftBa
- ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารติดต่อกลับเพื่อแนะนำสินเชื่อบ้าน : https://bit.ly/3EvFEbM
- แชทสอบถามปรึกษาสินเชื่อบ้าน : m.me/GHBank
- ข้อเสนอดีๆ เพื่อคนอยากมีบ้านจาก ธอส. เพิ่มเติม : https://www.ghbank.co.th/product/loan
แหล่งข้อมูลอ้างอิง: